หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปราโมทย์ วาทโกวิโท (พันธพัฒน์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระปราโมทย์ วาทโกวิโท (พันธพัฒน์) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร)
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยแบบ Research and Development หรือ (R and D) เป็นการพัฒนารูปแบบเพื่อนำรูปแบบสู่การพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ด้วยการทดลองเป็นการนำทฤษฏีทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสตร์สมัยใหม่มาบูรณาการ เพื่อพัฒนารูปแบบและทดลองหารูปแบบจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หัวข้อเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒) เพื่อพัฒนารูปแบบวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี (๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี 

 

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า   

 

๑) แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าวิทยากรตามศาสตร์สมัยใหม่ต้องเป็น “วิทยากรกระบวนการ วิทยากรกิจกรรมกลุ่ม  วิทยากรปฏิบัติการ วิทยากรโค้ชชิ่ง และวิทยากรโอดี โดยมุ่งการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วยการยึดผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง สร้างกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ เป็นการปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา วิทยากรจะต้องสามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  ส่วนวิทยากรตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทต้องยึดตาม “หลักการของวิทยากรต้นแบบ อุดมการณ์ของวิทยากรต้นแบบ วิธีการของวิทยากรต้นแบบ และสันติภาพของวิทยากรต้นแบบ” โดยวิทยากรทางพระพุทธศาสนาเถรวาทยึดแนวทางของพระพุทธเจ้าตามหลักของโอวาทปาติโมกข์  โดยมุ่งพัฒนาตนด้วยการทำจิตใจให้บริสุทธิ์มีความสงบเป็นต้นแบบด้านความประพฤติ  มีอุดมการณ์ด้วยความอดทนต่อความยากลำบาก และมีวิธีการสื่อสารธรรมไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย แม้บุคคลผู้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

๒) รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  พบว่ารูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็นการเผยแผ่ธรรมตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยรูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็น “การเรียนรู้ธรรมะผ่านกิจกรรม” ในลักษณะของพระวิทยากรธรรมะโอดี ซึ่งพระสงฆ์สามารถเป็นพระวิทยากรธรรมะโอดีได้ มีความเหมาะสม เพราะเป็นการนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านการประยุกต์เพื่อการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ด้วยกระบวนการใช้สื่อกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ และใช้กระบวนการของกิจกรรมกลุ่มในการสร้างการมีส่วนร่วม  โดยเริ่มต้นจากการวินิจฉัยและวิเคราะห์องค์กร วิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  สร้างรูปแบบการฝึกอบรม  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีจึงเกิด D-H-A-M-M-A-O-D Model โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข   ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี มีวิธีการพัฒนา ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านพระวิทยากรต้นแบบ ๒) ด้านกระบวนการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี ๓) ด้านการพัฒนาองค์กร ๔) ด้านเครื่องมือพุทธสันติวิธี       ๕) ด้านการสร้างสันติภายใน

 

๓) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี โดยผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี หรือ รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ K-U-M-S-A-N Model ประกอบด้วย “ความรู้ของวิทยากรต้นแบบ ความเข้าใจของวิทยากรต้นแบบ สติ-สันติของวิทยากรต้นแบบ     ทักษะของวิทยากรต้นแบบ ทัศนคติของวิทยากรต้นแบบ และการสร้างเครือข่ายของวิทยากรต้นแบบ” 

 

 

 

ผลจากการนำรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นพระสงฆ์ จำนวน  ๔๑  รูป  พบว่า คุณลักษณะทั่วไปของผู้เข้าอบรม  ผู้เข้าอบรมมีการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ของวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม  มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P < .๐๕) ทัศนคติของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = ๔.๔๕ , S.D. = .๔๑) ระดับทัศนคติต่อการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.85  ทักษะของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = ๔.๖๒ , S.D. = .๔๖)  ระดับทักษะของพระวิทยากรต้นแบบเมื่อผ่านการอบรม    อยู่ในระดับสูง  ร้อยละ 80.49 ความพึงพอใจของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = ๔.๕๗ , S.D.= .๕๔) ระดับความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.85 

 

 

ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่การรับใช้สังคม ส่งผลกระทบต่อองค์กร สังคม และพระพุทธศาสนาในทางที่ดี โดยมีรูปแบบในการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี หรือ รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ เป็นองค์ความรู้ใหม่ของผู้วิจัยส่งผลให้เกิดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบโจทย์มหาวิทยาลัย องค์กรและสังคมต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕