หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานัทกฤต ทีปงฺกโร (ปทุมมารัชเชปัณณ์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๗ ครั้ง
รูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาที่มั่นคงของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานัทกฤต ทีปงฺกโร (ปทุมมารัชเชปัณณ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  บรรจบ บรรณรุจิ
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิถีปฏิบัติในการสืบสานศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา ๒) เพื่อวิเคราะห์เหตุปัจจัยแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มั่นคงของชาวพุทธในสหภาพเมียนมาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussions) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) แบ่งเป็น ๖ กลุ่ม จำนวน ๓๐ ท่าน

             ผลการศึกษาพบว่า       

๑)  ชาวพม่ามีวิถีปฏิบัติในการสืบสานศรัทธาผ่านความเคร่งครัด ในคำสอนของพระสัมมา

สัมพุทธเจ้า เคร่งครัดในธรรมเนียมปฏิบัติ และเข้มงวดต่อการรักษาวัฒนธรรมประเพณี และศีลธรรมอันดีงาม มีวิถีปฏิบัติในการสืบสานศรัทธาผ่านความเชื่อเรื่อง “นัต”  คือ ผู้บริสุทธิ์ อันหมายถึง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ มีการสืบสานศรัทธาผ่านประเพณีวันสงกรานต์  ในการเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม พม่ามีพระเจดีย์เป็นที่พึ่งทางใจ จึงมักนิยมไหว้พระเจดีย์กันอยู่เป็นนิจ  โดยเฉพาะพระเจดีย์ชเวดากอง เป็นต้น

             ๒)  เหตุปัจจัยที่ทำให้ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชนชาวสหภาพเมียนมาที่ยังเหนียวแน่นมาจนถึงปัจจุบัน คือ ความเชื่อตามหมวดธรรมศรัทธาในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท และยังมีปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมประเพณี ที่เป็นทุนเดิมทางสังคมในการรักษาสืบทอดอย่างเหนียวแน่นมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งการปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธในทางพระพุทธศาสนา ที่มีความเข้มข้นและเอาจริง เอาจัง

             ๓)  รูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มั่นคงของชาวพุทธในสหภาพเมียนมา คือชาวเมียนม่าจะมีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่สูงสุดคือพระนิพพาน และมีการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น จากปูย่าตายายมาถึงพ่อแม่ลูกหลานให้มีความศรัทธาในเป้าหมายเดียวกัน ทั้งยังมีระบบของหมู่สงฆ์ที่เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการปฏิบัติสวดมนต์ ทรงจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด และเมื่อญาติโยมมีแนวทางแห่งการศึกษาเล่าเรียนและทรงจำพระไตรปิฎกได้แล้ว ก็จะเดินตามแนวแห่งทางศรัทธาในพระพุทธศาสนา

               องค์ความรู้ใหม่ จากการถอดบทเรียนการรูปแบบการสืบสานวิถีแห่งศรัทธาที่มั่นคงของชาวพุทธในสหภาพเมียนมาผ่านวิถีทางธรรม อันมีเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธในสหภาพเมียนมาคือพระนิพพาน อันสอดคล้องตามหลักธรรมคำสอนของ พระผู้มีพระภาค ซึ่งได้สอนธรรมที่เป็นไปเพื่อการบรรลุธรรม ได้นำธรรมนั้นไปศึกษาและนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จ ด้วยอาศัยพระรัตนตรัยเป็นเครื่องทำให้เกิดศรัทธา  ใฝ่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้อันประเสริฐแห่งธรรมจากการฟัง การอ่าน การคิด การสนทนากับสัตบุรุษ ด้วยความพรากเพียรการปฏิบัติธรรม ในการที่จะละอกุศลที่เกิดและก็ทำให้สิ้นไป ทำกุศลให้เกิดขึ้น ผ่านวิถีปฏิบัติจากสถาบันครอบครัว ซึ่งวิถีทางโลกในการเกื้อหนุนศรัทธา โดยมีพ่อแม่เป็นตัวแบบ เป็นครอบครัววิถีพุทธที่สามารถปลูกฝังส่งต่อความเชื่อ ความศรัทธาในวิถีพุทธจากรุ่นสู่รุ่น มีกลไกขับเคลื่อนผ่านวิถีธรรมนำโดยพระสงฆ์ เป็นตัวแบบของศาสนิกเป็นกัลยาณมิตร ให้ความรู้และสติปัญญา และพัฒนาต่อยอดผ่านกลไกทางสังคม และวัฒนธรรมประเพณี  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม ได้แก่ ศีลธรรม คติธรรม ตลอดจน ระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งแสดงออกในรูปของพิธีกรรมต่างๆ ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสืบสานศรัทธา และสร้างความปรองดองแก่สังคม มีการใช้สังคหวัตถุธรรม เป็นธรรมสำหรับสงเคราะห์ หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมสหภาพเมียนมาให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสันติแบบวิถีชาวพุทธ ที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ระลึกถึงความดีงาม และทำให้มีจิตใจอ่อนโยน   

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕