หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » บารมี หงส์วณิชย์กุล
 
เข้าชม : ๒๐๐๕๔ ครั้ง
สันติวัฒนธรรมเชิงพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : บารมี หงส์วณิชย์กุล ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บรรจบ บรรณรุจิ
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องศึกษาวิเคราะห์สันติวัฒนธรรมเชิงพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน)  ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาบริบทประวัติศาสตร์และวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดสันติวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  ๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์สันติวัฒนธรรมเชิงพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ) แบบชาติพันธุ์พรรณนา สำรวจภาคสนาม  โดยใช้การรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ( Dept - interview ) และการให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบมีโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ๒๕ รูป/คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้เชี่ยวชาญ ๙ ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา  เพื่อจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา (Category) แล้วนำมาสังเคราะห์เชิงระบบ (Systematic synthesis) เพื่อหาประเด็นร่วมหรือประเด็นหลักและอธิบายเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

๑) กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) มีวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับชาวล้านนาไทย ของประเทศไทย ศรัทธาและ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อย่างลึกซึ้ง มีอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ภาษาพูด และพยัญชนะเป็นของตนเอง มีความสัมพันธ์ที่ไม่สู้ราบรื่นกับรัฐบาลทหารเมียนม่าร์ (ในฐานะชนชั้นผู้ปกครอง) ทั้งยังตกอยู่ภายใต้กระแสการถูกกลืนทางวัฒนธรรม ผ่านกลไกต่าง ๆ ของรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ผู้นำชาติพันธุ์ไทใหญ่ได้สร้าง “กลยุทธ์” ทางวัฒนธรรม  โดยอาศัยเครื่องมือที่สำคัญ คือ “ตำนาน” ผ่านองค์กรท้องถิ่นของชาวไทใหญ่ ด้วยวิธีพยายามสถาปนาสัญลักษณ์ขึ้นหลายอย่าง เช่น การฟื้นฟู มหรสพแห่งความสุข “เพลงจ๊าดไต” เพื่อปลูกจิตสำนึก รักถิ่นฐาน เจ้าเสือข่านฟ้า” ในฐานะวีรบุรุษผู้กล้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างมหาอาณาจักรไทใหญ่คลอบคลุมพม่าภาคเหนือทั้งหมด

) แนวคิดทฤษฎีสันติวัฒนธรรมได้ถูกนำมาใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ตามนโยบายสำคัญ กล่าวคือ “วัฒนธรรมนำชาติ” โดยนำการศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนา และมีการบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง ความว่า “พุทธสันติวิธี” คือ แนวทาง “ มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ ทางสายกลาง ที่เป็นกลางบนฐานความรับผิดชอบและการตัดสินใจร่วมกันร่วมกัน 

๓) ทฤษฎีสันติภาพ  ซึ่งมีฐานจากวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) มาเชื่อมโยงกับหลักพุทธศาสนา ได้แก่ ปธาน ๔ สาธารณียธรรม ๖ และ พรหมวิหาร ๔ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

บทสรุป การศึกษาวิจัยฯ วัฒนธรรมไทใหญ่ (รัฐฉาน) ยังได้คลอบคลุม บริเวณภาคเหนือตอนบน(บางส่วน) ของประเทศไทย เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ที่มีชาวไทใหญ่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน อย่างเนืองแน่น ภายใต้บริบท เงื่อนไขทางสังคม การเมือง ซึ่งมีพื้นฐานทางภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมในบางมิติร่วมกันตั้งแค่ครั้งโบราณ  ผู้วิจัย ฯ  “จงใจ” และ พยายามทำหน้าที่สร้าง “ภาพต่อ” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกรอบของการศึกษา และ คาดหวังจะสามารถ ช่วย ฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทใหญ่ (รัฐฉาน) ได้ภายใต้ คุณสมบัติที่มัก “ลื่นไหล” ตามปกติวิสัยของธรรมชาติ และด้วยวิธีการผสานธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ได้รับจากวิถีทางพุทธศาสนา  บนสมมุติฐานที่ว่า “วัฒนธรรม” สามารถเอื้อต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในสังคมพหุวัฒนธรรมของรัฐฉาน

โดยเฉพาะหากมุ่งประเด็นที่วัฒนธรรม เชิงพุทธ จึงควรเริ่มที่ใจคน คือ ใจปัจเจกชน และ ใจหมู่ชน เป็นสำคัญในธรรมบท วรรคที่ ๒๐๒ พระพุทธองค์ตรัสว่า  “สุขใดอื่นเหนือความสงบ สันติไม่มี หมายถึง ภาวะของจิต  ที่ปลอดจากอารมณ์ และความคิดที่กดขี่  เป้าหมายก็คือ  การบรรลุถึงสภาวะ “สันติสุข” นั่นเอง.

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕