หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระยูง ชยานนฺโท (ชวน)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๒ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยาตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระยูง ชยานนฺโท (ชวน) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  บุญเลิศ จีรภัทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ห้อง ๓/๑ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งหมด ๓๐ คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย จำนวน ๕ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนชัดเจน เชื่อมโยงกันภายในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความสนใจ ให้ความร่วมมือ นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ สามารถแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์

๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย จำนวน ๕ แผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ค่าเฉลี่ย () = ๑๓.๘๐/๒๗.๕๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) =.๐๘๙/๑.๗๕๖ เมื่อนำไปทดสอบหาค่า t – test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ผลการวิจัยโดยภาพรวม แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน แก้ปัญหาการเรียนรู้ได้ตรงประเด็น เน้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีทักษะการคิดวางแผนในการเรียนรู้ที่ดี มุ่งให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในการกระบวนการเรียนรู้จนสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลการเรียนที่มีประสิทธิภาพ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕