หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรรณทิพา ชเนศร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
แบบจำลองพุทธจิตวิทยาการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทย (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พรรณทิพา ชเนศร์ ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  พระมหาเผื่อน กิตติโสภโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ๒) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแบบแพทย์แผนไทย สำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ ๓) เพื่อนำเสนอแบบจำลองพุทธจิตวิทยากระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลและสร้างองค์ความรู้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๗ รูป/คน การสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ๑๒ รูป/คน และการยืนยันตัดสินการใช้ในภาคปฏิบัติของ แบบจำลองของงานวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ๘ รูป/คน ที่ใช้การวิธีวิจัยแบบการประชุมผู้เชี่ยวชาญพิเศษ Connoisseurship เพื่อยืนยันตัดสินการนำไปใช้ของแบบจำลอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบ ๖ C Technic Analysis  และเทคนิคสามเส้า  ผลการวิจัยพบว่า

๑. การวิเคราะห์กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า มีกระบวนการหลักสำคัญที่สามารถใช้ได้ ทั้งในการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพ  ๔ กระบวนการ คือ ๑) การตรวจโรค ๒) การวินิจฉัยโรค ๓) การรักษาโรค ๔) การติดตามผล เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตกายจิตดีขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสมดุลกายและจิต

๒. การสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาเพื่อการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแบบแพทย์แผนไทยเพื่อให้เกิดสุขภาวะสูงสุดเกิดดุลยภาพกายใจ  พบว่าหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมได้แก่ ไตรสิกขาเป็นหลักการปฏิบัติเพื่อการรักษาสุขภาพกายใจ พรหมวิหาร ๔ หลักธรรมแห่งความรัก การเอาใจใส่และการวางใจ กัลยาณมิตร๗ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพแพทย์ เสริมคุณค่าทางจิตและปัญญา อริยสัจ ๔ หลักพุทธธรรมที่เป็นธรรมแห่งการพ้นทุกข์ของชีวิต และหลักจิตวิทยาที่เหมาะสมและส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพของบำบัดดูแล คือ หลักการให้การปรึกษา ที่มีทักษะสำคัญ คือ การฟังด้วยใจ ,การคิดใคร่ครวญที่ตรงตามความจริงในเชิงบวก การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ และหลักการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทำให้กระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม คือ เกิดดุลยภาพกายใจ มีความสุขอย่างแท้จริงและยั่งยืน

๓. สำหรับแบบจำลองพุทธจิตวิทยากระบวนการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทยสำหรับบุคคลที่มีสภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า เป็นรูปแบบการบูรณาการ ๓ ศาสตร์ศักดิ์สิทธ์แห่งปัญญาเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการบำบัดดูแล และดูแลสุขภาพที่เป็นองค์รวมมีความอย่างยั่งยืน ตรงตามเป้าหมายในชีวิตของมนุษย์ทุกคนต้องการ โดยใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนากายจิต บนพื้นฐานความรักความเมตตาของหลักพรหมวิหาร ๔ ทำให้เกิดการเอาใจใส่ด้วยหัวใจ การวางใจของแพทย์ หลักกัลยาณมิตร ๗ ที่เป็นคุณค่าทางจิตและปัญญา หลักอริยสัจ ๔ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง การวิเคราะห์ร่างกายและจิตใจในระดับขันธ์ ๕ เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของทุกข์ และหาแนวทางการออกจากทุกข์ทั้งกายจิตที่แท้จริง ทำให้เกิดดุลยภาพกายและจิต กายคือการใช้ชีวิตพื้นฐานที่เป็นปกติ ทางจิตคือการมีจิตที่สงบมั่นคง มีสติอยู่กับปัจจุบัน การยอมรับและมองโลกตรงตามความเป็นจริง คือการเกิดปัญญาในตัวของผู้ป่วย มองทุกอย่างมีคุณค่า การยอมรับความสามารถตนเอง มีความภูมิใจ คือการสร้างพลังของการมีชีวิต และค้นพบสุขภาวะองค์รวมสูงสุดทางกายและจิต

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕