หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พฤฒิณี นนท์ตุลา
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พฤฒิณี นนท์ตุลา ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พุทธชาติ แผนสมบุญ
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางพุทธจิตวิทยาและจิตวิทยาร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับพฤฒิพลัง ๒) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา และ ๓) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการเชิงคุณภาพกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๑๙ รูป/คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๔๐๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า

๑. การสนับสนุนจากครอบครัว ประกอบด้วย ๑) การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๒) การยกย่องชมเชย ๓) การทำตนเป็นประโยชน์ ๔) การเสมอต้นเสมอปลาย การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขาประกอบด้วย ๑) การพัฒนาพฤติกรรมระดับศีล ๒) การพัฒนาพฤติกรรมระดับจิตใจ ๓) การพัฒนาพฤติกรรมระดับปัญญา การรับรู้ความสามารถแห่งตน ประกอบด้วย ๑) การกระทำที่ประสบผลสำเร็จ ๒) การได้เห็นตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้อื่น ๓) การชักจูงด้วยคำพูด และการกระตุ้นทางอารมณ์ พฤฒิพลังประกอบด้วย ๑) การมีสุขภาพดี ๒) การมีส่วนร่วม ๓) การมีหลักประกันความมั่นคง

๒. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย ตัวแปรภายนอกแฝง ๑ ตัวแปร คือ การสนับสนุนจากครอบครัวและตัวแปรภายในแฝง ๓ ตัวแปร คือ ๑) การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา ๒) การรับรู้ความสามารถแห่งตน และ ๓) พฤฒิพลัง โดยที่การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขาทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านในโมเดล

๓. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤฒิพลังตามหลักพุทธจิตวิทยา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ ๕๑.๕๓ องศาอิสระ (df) เท่ากับ ๕๒ ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .๔๙ ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .๙๘  ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .๙๖ และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .๐๐๐ อธิบายความแปรปรวนของพฤฒิพลังได้ร้อยละ ๒๘.๐๐เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อตัวแปร พบว่า พฤฒิพลัง ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสนับสนุนจากครอบครัว การฝึกฝนตามหลักไตรสิกขา และการรับรู้ความสามารถแห่งตน โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .๒๖, .๑๗ และ .๑๙ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และพฤฒิพลัง ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการสนับสนุนจากครอบครัวโดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .๒๐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕