หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กรณ์ สาริยา
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการดูแลคนไร้ที่พึ่งตามแนวพุทธจิตวิทยา (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : กรณ์ สาริยา ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  พุทธชาติ แผนสมบุญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่งและการดูแลคนไร้ที่พึ่ง ๒) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุในการดูแลคนไร้ที่พึ่งตามแนวพุทธจิตวิทยา และ ๓) เพื่อตรวจสอบความตรงและนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุในการดูแลคนไร้ที่พึ่งตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลคนไร้ที่พึ่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๔ คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๑๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม
LISREL ผลการวิจัยพบว่า

๑. คุณลักษณะของผู้ดูแลตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย ๑) เป้าหมายในการทำงาน ๒) ทำงานตามมาตรฐาน ๓) ทำงานด้วยความอดทนเพื่อไปสู่เป้าหมาย ๔) การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๕) การพูดจาดี ๖) การช่วยเหลือพื้นฐาน ๗) ความสม่ำเสมอในการดูแล หลักธรรมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง ประกอบด้วย ๑) ศรัทธาในผู้ดูแล ๒) การคิดทางบวก ๓) รู้คุณ รู้โทษและรู้ทางเลือก สวัสดิการคนไร้ที่พึ่ง ประกอบด้วย ๑) ปัจจัย๔ ๒) อาชีพ ๓) ครอบครัวและสังคม และคุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง ประกอบด้วย ๑) มีเป้าหมายชีวิต ๒) รู้จักและเห็นคุณค่าตนเอง ๓) ดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย

๒. โมเดลเชิงสาเหตุในการดูแลคนไร้ที่พึ่งตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย
ตัวแปรภายนอกแฝง ๑ ตัวแปร คือ คุณลักษณะของผู้ดูแลตามแนวพุทธจิตวิทยา และตัวแปรภายในแฝง ๓ ตัวแปร คือ ๑) หลักธรรมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง ๒) สวัสดิการคนไร้ที่พึ่ง และ ๓) คุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง โดยที่ตัวแปรหลักธรรมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านในโมเดล

๓. โมเดลเชิงสาเหตุในการดูแลคนไร้ที่พึ่งตามแนวพุทธจิตวิทยา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ ๕๖.๗๖ องศาอิสระ (df) เท่ากับ ๖๑ ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .๖๓ ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .๙๗ ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .๙๓ และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .๐๐๐ ร่วมกันโดยที่ทุกตัวแปรภายในเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง ๔ ตัวแปร ตัวแปรแฝงภายใน ๓ ตัวแปร ตัวแปรแฝงภายนอก ๑ ตัวแปร ตัวแปรสังเกตได้ ๑๖ ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง ได้ร้อยละ ๗๙.๐๐ เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อตัวแปร พบว่า คุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่ง ได้รับอิทธิพลทางตรงจากหลักธรรมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ ๐.๙๕ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ตามลำดับ คุณภาพชีวิตของคนไร้ที่พึ่งได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากคุณลักษณะของผู้ดูแลตามแนว
พุทธจิตวิทยาผ่านหลักธรรมสำหรับคนไร้ที่พึ่ง โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ เท่ากับ ๐.๔๒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕