หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูกันตธรรมาภิวัฒน์ (น้อย กนตสีโล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การสร้างความสัมพันธ์ผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูกันตธรรมาภิวัฒน์ (น้อย กนตสีโล) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุธีคัมภีรญาณ
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับเยาวชน และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสร้างความสัมพันธ์ผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ เขตตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการประมวลผลการศึกษาแล้วนำเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ดังนี้

ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ หลักทิศหกโดยเฉพาะหลักข้อที่ ๑ ปุรัตถิมทิส หรือ ทิศเบื้องหน้า หลักสังคหวัตถุ ๔ และหลักความกตัญญู เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตร่วมกันอยู่ในสังคม มีความสำคัญในการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันของคนที่อยู่ร่วมกัน  และรู้จักสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีอุปการคุณต่อตนเอง

สภาพทั่วไปของผู้สูงอายุและเยาวชน ในตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีสภาพความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ อยู่ร่วมกันทั้งพ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย และลูกหลาน ซึ่งมักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างเป็นหลัก ด้านผู้สูงอายุจะมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย บางคนมีทำงานด้านอาชีพรับจ้าง และมีปัญหาทางด้านการเงินและสุขภาพ ส่วนเยาวชนมักจะมีการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย ชอบการแข่งขัน และมีพฤติกรรมเข้าข่ายในการเสพสิ่งเสพติดเป็นบางคน

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผลปรากฏว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนซึ่งมีวัยที่แตกต่างกัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคมจะต้องให้แต่ละฝ่ายรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของกันและกันจะทำ ให้มีความเข้าใจกันมากขึ้นจะก่อให้ เกิดความเห็นใจและช่วยเหลือกันและกัน เมื่อผู้สูงอายุเป็นตัวแบบที่ดีเยาวชนก็ย่อมปฏิบัติตาม การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน ทำให้เยาวชนสนใจในตัวผู้สูงอายุและกล้าพูดคุยด้วย ในส่วนของด้านเยาวชนเมื่อได้ร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุบ่อยๆ มีการพูดจากับผู้สูงอายุมากขึ้น เริ่มเกิดความตระหนักในความกตัญญู อยากที่จะช่วยเหลือการงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการให้เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุบ่อยขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕