หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสาเทอญ ธาจ (รามธมฺโม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ขอนักเรียนในพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเวียดนามใต้ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสาเทอญ ธาจ (รามธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  Therasak Bungmoom
  Sangwan Phiayura
  -
วันสำเร็จการศึกษา : April 19, 2019
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตร และการประเมินผล ๒) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตรและการประเมินผล โดยจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ๓) ศึกษาแนวทางประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตร และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูจำนวน ๑๒๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) (F-test) และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ตามวิธีของ Scheffe.

ผลการศึกษาพบว่า

๑)  ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน  ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตร และการประเมินผล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามระดับมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ด้านการประเมินผล ด้านการวางแผน และด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการใช้หลักสูตรไปใช้ อยู่ในระดับปานกลาง

๒)  เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตรและการประเมินผล โดยจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจำแนกตามตำแหน่ง มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการเรียนการสอนซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันในการใช้หลักสูตรไปใช้ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนวุฒิการศึกษา และการประเมินผล มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

 

๓) แนวทางประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับการวางแผน การเรียนการสอน การใช้หลักสูตร และการประเมินผลดังนี้

ผู้บริหาร และครูผู้สอน ต้องการพัฒนาการฝึกอบรมหลักสูตร และการจัดการโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรด้านหลักสูตร เทคโนโลยี และทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ การวางแผนต้องอยู่บนฐานหลักสูตรของโรงเรียน เวลาที่จะเริ่มดำเนินการ และเสร็จสิ้นการวางแผนของโรงเรียนได้อย่างชัดเจน และควรมีการประชุม เพื่อตรวจสอบการวางแผน กำหนดการเรียนการสอนที่ดีสามารถนำไปสู่การเรียนรู้ของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ แนะนำนักเรียนเพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง และใช้วิธีการยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางเหมาะกว่าวิธีการยึดครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน การตรวจ สอบการดำเนินการที่เหมาะสมกับหลักสูตร และการฝึกอบรมโปรแกรมสำหรับครูอยู่เสมอในการปรับปรุงการเรียนการสอน วิธีการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างกระตุ้นสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินการวางแผนของโรงเรียนและผลการเรียนรู้ของนักเรียนรวมทั้งการหาจุดแข็ง และจุดอ่อนของการวางแผนโรงเรียน และผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อพัฒนาเพิ่มเติม

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕