หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอภิรมย์ วาทโร (บุญทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระอภิรมย์ วาทโร (บุญทอง) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดิเรก นุ่นกล่ำ
  กันตภณ หนูทองแก้ว
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามอายุ พรรษา ระดับการศึกษา ตำแหน่งคณะสงฆ์เป็นอย่างไร (๓) เพื่อทราบข้อเสนอแนะ แนวทางในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน  ๒๑๐ รูป  กลุ่มตัวอย่าง ๑๓๖ รูป ๑๔ วัด ๑๐ ที่พักสงฆ์ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของแครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Mean), ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าสถิติทดสอบ (t-test), ค่าสถิติทดสอบเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๐ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๒ และด้านที่พฤติกรรมการดูแลสุขภาพน้อยที่สุด คือ ด้านอากาศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๕๕

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัด   สุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามอายุที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามพรรษาที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน        จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามระดับตำแหน่งทางคณะสงฆ์ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

ข้อเสนอแนะ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม และควรจัดสภาพแวดล้อมในบริเวณวัดให้มีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์ เป็นเขตปลอดบุหรี่ และอบายมุขทั้งปวง จัดให้มีการถวายความรู้เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในวิถีทางที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง โดยเฉพาะพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และการเลือกฉันภัตตาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจัดตั้งศูนย์สุขภาพพระสงฆ์ภายในวัดของเจ้าคณะผู้ปกครองในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ได้แนวทางในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕