หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอดิเทพ อธิวณฺโณ (หมกทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระอดิเทพ อธิวณฺโณ (หมกทอง) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดิเรก นุ่นกล่ำ
  กันตภณ หนูทองแก้ว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัด         สุราษฎร์ธานี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามข้อมูลทั่วไป และ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรได้แก่ นักเรียนโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน ๔๙๕ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เคร็จซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๑๗  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติทดสอบที (t – test) ค่าสถิติทดสอบเอฟ (F – test) ถ้าพบความแตกต่าง จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดของ เซฟเฟ่ (Scheffe’s method) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า:

๑. การใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า โดยรวมทั้ง ๓ ด้านมีค่าเฉลี่ย      อยู่ในระดับมาก ( =๔.๑๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ด้านปัญญา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๔.๒๘) รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ด้านศีล ( =๔.๑๓)       ส่วนด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ด้านสมาธิ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =๔.๐๕) เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับชั้นเรียน อาชีพบิดามารดา และรายได้บิดามารดา พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

. ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามข้อมูลทั่วไป พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มี เพศ ระดับชั้นเรียน อาชีพบิดามารดา และรายได้บิดามารดาต่างกัน มีการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ไม่แตกต่างกัน

๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ครูและผู้ปกครองควรส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามัคคี ปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูในความเป็นไทย ซื่อสัตย์สุจริต สนับสนุนให้เป็นนักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติชอบ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถืออย่างเคร่งครัด ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัย จะได้เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนตามระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน ควรสนับสนุนนักเรียนที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ ให้เป็นนักเรียนที่มีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ควรส่งเสริมให้นักเรียนเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม และมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง รู้จักประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ ระมัดระวัง มีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม อย่างมีความสุข

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕