หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธนวิชญ์ ญาณธีโร (กิจเดช)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 : ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธนวิชญ์ ญาณธีโร (กิจเดช) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อุบลวรรณา ภวกานันท์
  ศรัณย์ กอสนาน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research ) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์ข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) ศึกษารูปแบบการอยู่ร่วมกันของชุมชน พหุวัฒนธรรมตามหลัก    สาราณียธรรม ๖: ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร ๒) นำเสนอลักษณะการอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม ๖ :ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร  ประชากรที่ทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน จำนวน ๑,๒๘๔ คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ที่กรอกแบบสอบถามจำนวน ๓๐๕

 

ผลการวิจัย

          ๑. รูปแบบการอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม ๖: ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม  พบว่า อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามหลักสาราณียธรรมทั้ง ๖ ด้าน แล้ว พบว่า มีการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน อยู่ในระดับมากทั้ง ๖ ด้าน โดยด้านที่มีการอยู่ร่วมกันมากที่สุดคือ ด้านเมตตากายกรรม 

 

 

 

          ๒. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน ของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม ๖: ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร พบว่า คนในชุมชนก็มีการเป็นอยู่ตามหลัก       สาราณียธรรม ที่เป็นธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน เพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่มักจะแสดงไมตรีและความหวังดีต่อคนในชุมชนอยู่เสมอเพราะมักจะมีการยิ้มแย้มให้กันของคนในชุมชนอยู่เสมอ มีการสั่งสอนหรือการแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดีต่อคนในชุมชน และมีความคิดจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันอยู่ตลอดโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนไม่ว่าจะเป็นงานช่วย หรืองานอาสาทุกคนทำด้วยใจยิ่งเป็นทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่เป็นส่วนรวมจะทำกันโดยไม่มีใครหวังอะไรตอบแทน มีการแบ่งปันลาภผลหรือสิ่งของต่างๆ ที่ได้มาโดยชอบธรรมต่อคนในชุมชน และไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือก่อความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะหรือคนในชุมชนและประการสุดท้ายคือมีหลักแห่งความดีงานหรือมีจุดมุ่งหมายสูงสุดที่เป็นไปในทางเดียวกัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕