หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเสาร์คำ ธมฺมวโร (ธิหล้า)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยธรรมของเทวดาที่มีต่อสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระเสาร์คำ ธมฺมวโร (ธิหล้า) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริรัตนานุวัตร
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะ     ความมีอยู่ของเทวดา จริยธรรมของเทวดา และศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมที่มีต่อการพัฒนาสังคมไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ถือพระพระไตรปิฎกเป็นข้อมูลปฐมภูมิ และเอกสารอื่นข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า เทวดามี ๓ จำพวก คือ อุบัติเทพ สมมติเทพ และวิสุทธิเทพ เทพจำพวก อุบัติเทพมีสถานะความมีอยู่ตามภพ/สวรรค์ ตามอายุ ตามการเกิด/ตาย ตามภพ/ภูมิ ตามชีวิต/กำเนิด ตามอาหาร ตามความสัมพันธ์กับมนุษย์ เทพจัดกลุ่มเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีบทบาทต่อธรรมชาติและพระพุทธศาสนา คือกลุ่มพิธีกรรมที่เนื่องด้วยเทวดา กลุ่มที่มีบทบาทของเทวดาในสวรรค์และกลุ่มสถานะและบทบาทของเทวดาต่อพระพุทธศาสนาและธรรมชาติ เทวดามีอาณาจักรสถิตคือเทวโลก เป็นชาวสวรรค์ เทวดาในชั้นจตุมหาราช มีบทบาทต่อธรรมชาติ เช่น ป่า น้ำ อากาศ เป็นต้น เทวดามีส่วนสำคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าถือเป็นพุทธกิจหนึ่งใน ๕ คือเวลาเที่ยงคืนจะทำหน้าที่แก้ปัญหา ให้แก่เทวดา เทวดามีส่วนสำคัญให้เกิดมงคลสูตร  นอกจากนี้ เทวดามีบทบาทต่อพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นต้นบัญญัติหลายข้อ เช่น อาบัติ ปาจิตตีย์ข้อที่ห้ามพระภิกษุพรากของเขียว บทบาทของเทวดาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ภายหลังที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาจบลง เทวดาชุมนุมในหมื่นโลกธาตุพากันแซ่ซ้องสรรเสริญดังกึกก้องไปทั่วโลกธาตุ แสดงให้เห็นว่าปกติของเทวดาจะใคร่ในธรรมและจริยธรรมของเทวดามีคุณค่าในการเป็นแหล่งจริยธรรมจากพระพุทธศาสนาต่อธรรมชาติ โดยเทวดาแห่งป่าจะปฏิบัติในรุกขธรรม เทวดาแห่งนภากาศ จะขจัดราหูให้ฐานะศัตรูด้วยอ้างถึงพระพุทธคุณ เทวดาแห่งข้าว จะดูแลพืชธัญญาหารแก่มนุษย์ เทวดาแห่งน้ำจะรักษาน้ำเลี้ยงมนุษย์และพืช เทวดาแห่งฝน  จะให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เทวดาจะสอนจริยธรรมให้แก่มนุษย์และมนุษย์จะอยู่กับเทวดาด้วยการทำบุญ ทำทาน ทำดี ทำพิธีไหว้ดี พลีถูกและปฏิบัติในจริยธรรม

             ธรรมให้เกิดเป็นเทวดาที่สำคัญมีบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ บุญที่สำเร็จด้วยการให้ทาน บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล บุญที่สำเร็จด้วยการภาวนา บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือการทำบุญด้วยการให้ปัน โอตตัปปะ และวัตรบท ๗ ประการ คือ การเลี้ยงมารดาและบิดา การประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่การพูดจาแต่คำอ่อนหวาน การไม่พูดคำส่อเสียด การมีใจปราศจากความตระหนี่ การพูดแต่คำสัตย์และการไม่โกรธ

             เทวดาจะสร้างคุณค่าทางจริยธรรมแก่สังคมในฐานะเป็นแหล่งจริยธรรม เช่น ปัญหา ๓ ราศีในเทศกาลสงกรานต์  จริยธรรมของเทวดาจะเน้นพัฒนาชีวิต เอื้ออาทรต่อกัน สร้างสันติภาพต่อสังคมและธรรมชาติ  จริยธรรมของเทวดามีคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ต่อการเป็นแหล่งจริยธรรม กล่าวคือ การเจริญอนุสติ การเป็นมิตรกับป่า การสะเดาะเคราะห์ การบนบาน ความสุข คุณค่าเหล่านี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่งแก่พุทธบริษัทผู้ปฏิบัติ เพราะเสริมสร้างกำลังใจ ให้ความหวัง ทำให้ผู้ปฏิบัติตามได้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและพ้นทุกข์ในที่สุด

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕