หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาคำนวล อคฺคจิตฺโต (นวลคำ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๗ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบสมาธิในศาสนาพุทธเถรวาทกับโยคะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาคำนวล อคฺคจิตฺโต (นวลคำ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีรัตโนบล (สุริโย อุตฺตมเมธี)
  พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาสมาธิในศาสนาพุทธเถรวาท (๒)  เพื่อศึกษาโยคะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (๓) เพื่อเปรียบเทียบสมาธิในศาสนาพุทธเถรวาทกับโยคะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า

สมาธิในทางศาสนาพุทธเถรวาท คือ การกำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์ปกติ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปในทางอกุศล เป็นการกระทำจิตให้ตั้งมั่นเพื่อเป้าหมายคือการขจัดกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการหมดสิ้นจากกิเลสอาสวะทั้งมวลด้วยหลักแห่งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

โยคะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ หลักการเป็นหลักปฏิบัติเพื่อมิให้ปุรุษะสำคัญตนว่าเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันกับประกฤติ การจะบรรลุเป้าหมายของโยคะนั้นมีขั้นตอนการปฏิบัติ ๘ ประการ เรียกว่าอัษฏางคโยคะ มีสมาธิ เป็นขั้นสุดท้ายแห่งการฝึก ด้านผลจากการปฏิบัติผู้ปฏิบัติโยคะ ตามหลักคำสอนย่อมได้รับผล ๒ ประการ คือ (๑) ผลที่เป็นโลกิยะ คือสามารถทำลายเป็นอำนาจเหนือโลก (๒) ผลที่เป็นโลกุตตระผู้ปฏิบัติโยคะบรรลุถึงเขตแดนแห่งโลกุตตระ

สมาธิในศาสนาพุทธเถรวาทกับโยคะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีนัยที่เหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมจิตให้ดำเนินอยู่ในทางแห่งกุศล โดยมีเป้าหมายคือการหมดสิ้นจากกิเลสอาสวะ ที่ต่างกันคือ สมาธิ มีความหมายถึงการบำเพ็ญเพียรทางจิตชั้นสูงเพื่อขจัดกิเลส มีเป้าหมายคือการบรรลุนิพพาน ส่วนโยคะ เป็นนัยทั่วไปเกี่ยวกับการฝึกกระบวนจิตประสานกับร่างกายให้เกิดความสมดุลเพื่อรองรับการฝึกปฏิบัติทางจิตและมีเป้าหมายสู่ความสุขสูงสุดคือโมกษะ

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕