หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พัฒน์ณิชา สายโรจน์พันธ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วย โดยใช้หลักพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พัฒน์ณิชา สายโรจน์พันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  พูนสุข มาศรังสรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพบริบทการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วยเฮียโมทย์-เจ๊ณี ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีในการบริหารจัดการแรงงานในคัมภีร์พุทธศาสนา ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้าน โชห่วยตามหลักพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม จำนวน ๑๔ ท่าน

          ผลการศึกษาพบว่า

          ๑) ธุรกิจร้านโชห่วยเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจด้วยการใช้เงินสด จะนิยมใช้ลูกจ้าง ที่เป็นแรงงานต่างด้าว เพราะแรงงานไทยมองว่าเป็นงานหนักและจุกจิก แต่แรงงานต่างด้าวมีความ อดทนและสู้งานหนักได้ โดยมีหน้าที่ในการดูแลจัดสินค้าในร้าน การซื้อขายและให้บริการในการติดต่อ ลูกค้าหน้าร้าน การจัดส่งสินค้าตรงถึงบ้านลูกค้าในกรณีที่มีการสั่งสินค้าจำนวนมาก การจ้างแรงงาน ต่างด้าวพบปัญหาและอุปสรรค ในเรื่องระบบการประสานติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้การดำเนินการของนายจ้างที่จะให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานได้อย่างถูก กฎหมายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลาในการดำเนินการ

          ๒) หลักสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ การให้ การใช้วาจาที่ดี การทำประโยชน์ และการวางตนเสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธสันติวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการแรงงานเพราะนอกจากจะช่วยรักษา ความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรแล้ว ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดการความ ขัดแย้งในองค์กรได้

          ๓) ร้านโชห่วยเฮียโมทย์-เจ๊ณี เป็นแบบอย่างในการบริหารแรงงานต่างด้าวที่ใช้ความ จริงใจ ความรักความเมตตา ของเจ้าของกิจการยึดโยงจิตใจแรงงานต่างด้าวในร้าน ซึ่งสามารถสรุป เป็นองค์ความรู้ใหม่ เป็นโมเดลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในร้านโชห่วย เรียกว่า โมเดล GPSE โดย G มาจาก Giving for changing quality of foreign labors’ lives คือการให้ที่สร้างการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าว ได้แก่ หยิบยื่นโอกาสที่ดีแก่ชีวิตให้ความจริงใจและใจกว้างให้คำแนะนำชี้แนวทางที่ดีในการทำงานให้ความเอาใจใส่และใส่ใจให้อย่างมีหลักการและมีความเป็น ธรรม P มาจาก Peaceful speech as the organizational culture คือ การใช้ภาษาสันติ สร้างวัฒนธรรมในร้าน บอกการงานด้วยเสียงที่เมตตา แนะแนวทางที่รู้จักกาล รักษาวาจาให้มั่นคง เอื้อนเอ่ยวาจาอย่างมีสติ S มาจาก Striving for foreign labors’ benefits คือ ความมุ่งหวัง แรงงานต่างด้าวได้รับการเกื้อกูล ช่วยเหลืออย่างญาติมิตร เติมเต็มประโยชน์ให้แก่กัน และ E มาจาก Equality consisting in impartiality คือ ความเสมอภาคประกอบด้วยความเป็นธรรม เป็น กันเองไม่ถือตน ยึดหลักการแต่ไม่สั่งการ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕