หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมพงษ์ ณฏฺฐิโก (เฒ่าเง้า)
 
เข้าชม : ๒๐๐๔๕ ครั้ง
ประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมพงษ์ ณฏฺฐิโก (เฒ่าเง้า) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระวิเทศพรหมคุณ
  บุญเลิศ จีรภัทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก”การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (QuantitativeResearch)  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก๒)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าเอฟ (f-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One WayANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. นักเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกโดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากและในรายด้าน คือด้านการจัดและการเลือกกิจกรรมการสอนให้เหมาะสม ด้านการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ ด้านกลวิธีการสอนและอุบายในการสอนและด้านการประเมินผลการศึกษาในแต่ละด้าน ด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

             ๒.นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีเพศ อายุและระดับชั้นเรียน ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .๐๕

             ๓. เสนอแนะแนวทางประสิทธิภาพการสอนของพระสงฆ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ควรจัดเนื้อหาในรายวิชาที่สอนให้กระชับกับหน่วยกิต มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ความสามารถผู้เรียน ควรมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายมีสื่อการสอนที่ทันสมัย และมีการวัดผลและประเมินผลติดตามอยู่เสมอ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในเนื้อหารายวิชาที่สอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕