หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายพิบูลย์ ลิ้มพานิชย์
 
เข้าชม : ๑๖๘๗๖ ครั้ง
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการสร้างเจดีย์ในสมัยสุโขทัย (๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : นายพิบูลย์ ลิ้มพานิชย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญโญ
  ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา
  ดร.ประเวศ ลิมปรังษี
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

                 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร
(Documentary research) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาดังนี้ คือ ๑. เพื่อศึกษาการ
กำเนิดและพัฒนาการ การสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนา
ที่มีต่อการสร้างเจดีย์ในสมัยสุโขทัย ๓. เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างเจดีย์ในสมัยสุโขทัยที่ได้รับการ
สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


                ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเจดีย์นั้นมีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยมีต้นกำเนิดมาจากประเพณีการเผาศพ และเก็บอัฐิไว้เคารพบูชาของพวกอารยันที่นับถือศาสนาพราหมณ์ เจดีย์ที่
สร้างขึ้นในยุคแรก ๆ จะทำเป็นเนินดินและบรรจุอัฐิของผู้ที่เคารพนับถือไว้ภายใน ซึ่งพระพุทธเจ้า
ทรงนำประเพณีการฝังอัฐิของพวกอารยันมาปรับใช้ในทางพระพุทธศาสนา และการสร้างเจดีย์ใน
พระพุทธศาสนาก็เป็นพุทธประสงค์โดยตรง เป็นประเพณีนิยมที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการ
สักการะบูชา ต่อมาประเพณีการสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายจากอินเดียไปยังประเทศ
ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ ศรีลังกา เพราะเป็นประเทศใกล้เคียงที่มีรูปแบบการสร้างเจดีย์ที่คล้ายกับ
อินเดีย ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับพระพุทธศาสนามาจากทั้งอินเดียและศรีลังกา การที่พระพุทธศาสนา
ได้เข้าสู่ประเทศไทยนั้น จากหลักฐานในคัมภีร์มหาวงศ์พบว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐาน
ในประเทศไทยครั้งแรก เป็นพระพุทธศาสนานิกายหินยาน เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่ง
อินเดียได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ๙ สาย หนึ่งในบรรดา ๙ สาย
นั้นก็คือสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่าได้แก่ภาคกลางของไทยและภาคใต้ของพม่า หลังจากนั้นใน
สมัยสุโขทัย พระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยและมีอิทธิพลต่อกษัตริย์
รวมทั้งประชาชนในอาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างมาก ทำให้ประเพณีการสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนาจากการศึกษาในครั้งนี้ ยังพบว่าได้มีการตีความเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบเจดีย์ไว้
หลายแนวคิด โดยแบ่งออกเป็น ๒ แนวคิดหลัก คือ
๑. แนวคิดการออกแบบเจดีย์ตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่าได้มีการนำหลักคำสอนทาง
พระพุทธศาสนามาตีความส่วนประกอบต่าง ๆ ของเจดีย์
๒. แนวคิดการออกแบบเจดีย์ตามหลักศาสนาพราหมณ์ โดยมีการตีความตามหลักความ
เชื่อและคัมภีร์ต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ เช่น คัมภีร์วิษณุปุราณะ กวีนิพนธ์มหาภารตะ

 

Download :  254980.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕