หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมชัย อนุตฺตโร (ดาวศรี)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๔ ครั้ง
ศึกษาหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องทิศหกในพระพุทธศาสนา(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมชัย อนุตฺตโร (ดาวศรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
  ดร. อุดร จันทวัน
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรก ศึกษาพฤติกรรมการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในสังคมปัจจุบัน ส่วนที่สอง ศึกษาความสำคัญหลักปฏิสัมพันธ์ตามหลักทิศหกในพระพุทธศาสนา ส่วนที่สาม ศึกษาแนวทางการปลูกฝังหลักปฏิสัมพันธ์ตามหลักทิศหก
               ผลการศึกษาวิจัยพบว่า บิดามารดากับบุตร ครูอาจารย์กับศิษย์ สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน นายกับบ่าว (ผู้บริหารกับพนักงาน) และพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ แม้ในปัจจุบัน บิดามารดามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนในการอบรมสั่งสอน การปฏิบัติตนตามครรลองครองธรรม การเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นการปลูกฝังให้บุตรธิดาได้รับรู้ในสิ่งที่ดีและนำไปปฏิบัติ เด็กจะเป็นคนดีมีคุณธรรมซึ่งเกิดจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ และเห็นแบบอย่างที่ดีครูอาจารย์ส่วนมากมีความรักเมตตากรุณา รับฟังปัญหา ให้ความสนิทสนม สนทนาอบรม แนะนำศิษย์ให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ศิษย์สร้างการปฏิสัมพันธ์กับครูอาจารย์ด้วยการตั้งใจฟังขณะทำการสอน สนทนาด้วยความเคารพ รวมทั้งปรึกษาหารือเมื่อมีปัญหาจากการเรียน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน การทำหน้าที่ของครูอาจารย์และศิษย์ที่สมบูรณ์ มีความสำคัญต่อการศึกษาสามีกับภรรยาในปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวเป็นอย่างดี สามีบริหารครอบครัวด้วยการ ป้องกันภัยจากภายนอก ระวังภัยในบ้าน ขยันหาทรัพย์ ซื่อสัตย์ไม่มิตรกับมิตร(ทิศเบื้องซ้าย)ในปัจจุบัน ก่อนจะคบกันเป็นมิตร เริ่มจากการสังเกต
สนทนาถูกอัธยาศัยกัน ทำงานร่วมกัน บุคคลคบเพื่อนเพราะอยากมีเพื่อน ได้ช่วยเหลือกันเมื่อคราวเดือดร้อน เมื่อเป็นมิตรก็เป็นมิตรที่ดีต่อกัน ป้องกันทรัพย์สินของเพื่อนเมื่อมีภัยมาถึง ไม่ทะเลาะก่อเรื่องกับเพื่อนร่วมงาน เป็นการปฏิบัติที่ทำให้มิตรสหายนิยมชมชอบและศรัทธาที่จะคบเป็นมิตรในปัจจุบันนายจ้างสร้างปฏิสัมพันธ์กับพนักงานด้วยการมีทัศนที่ดี ให้เกียรติ ยกย่องเป็นมิตรกับทุกคน ไม่แสดงการดูถูก ไม่หลงอำนาจ ไม่ระแวงสงสัย ในส่วนของพนักงานเห็นว่าเห็นว่านายจ้างเป็นคนดีมีศีลธรรม แต่พนักงานร้อยละ ๕ ที่เห็นว่านายจ้างเอาแต่ใจตังเอง และไม่ให้เกียรติคนอื่นคฤหัสถ์อุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่ เคารพนอบน้อม ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จะทำ พูด หรือคิดสิ่งใดต่อพระสงฆ์ก็ประกอบด้วยเมตตา พระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการ สำรวมกาย วาจา ใจ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคฤหัสถ์ด้วยการ อบรมสั่งสอนให้ทำในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ละสิ่งเป็นโทษ และสำนึกต่อหน้าที่ พระสงฆ์สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมในบาง
ท้องถิ่นด้วยการสร้างสาธารณประโยชน์ต่างๆ ให้แก่สังคมและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมการอบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่ายพุทธบุตร ลานธรรม ลานกีฬา เป็นต้น ในสภาพรวมแล้วในสังคมไทยยังมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้ว่าจะมีการทะเลาะกันบ้างก็เป็นเพียงส่วนน้อย

 

Download :  255134.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕