หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิรัตน์ รตนญาโณ (ณุศรีจันทร์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
สัทธัมมสังคหะ:การตรวจชำระและศึกษา(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิรัตน์ รตนญาโณ (ณุศรีจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(บาลี)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  รศ.ดร. สำเนียง เลื่อมใส
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

               การวิจัยคัมภีร์สัทธัมมสังคหะ ผู้วิจัยได้ปริวรรตคัมภีร์สัทธัมมสังคหะจากภาษาบาลีอักษรขอมเป็นภาษาบาลีอักษรไทยตรวจชำระ ศึกษา และแปลเป็นภาษาไทย คัมภีร์สัทธัมมสังคหะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาฉบับย่อ ประพันธ์โดยพระธรรมกิตติมหาสามี ซึ่งเป็นพระมหาเถระชาวอโยธยา หรือพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เป็นคัมภีร์ว่าด้วยประวัติการรวบรวมพระสัทธรรมคือการสังคายนาในอินเดียและศรีลังกาและการแต่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น ๕ บท คือ บทที่ ๑ เป็นบทนำ กล่าวถึงเป็นและความสำคัญของปัญหาตลอดถึงวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ ๒ ว่าด้วยประวัติผู้แต่ง สมัยที่แต่งโครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และวิธีการจารลงบนใบลาน บทที่ ๓ คัมภีร์สัทธัมมะสังคหะที่ตรวจชำระแล้วพร้อมทั้งข้อความที่ผิดพลาด บทที่ ๔ คัมภีร์สัทธัมมสังคหะแปลเป็นภาษาไทย บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะคัมภีร์สัทธัมมสังคหะนี้ มีเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์ ต่อการศึกษา เรื่องราวในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับพระพุทธศาสนาหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน การศึกษาเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่มีเนื้อหาเป็นธรรมล้วน บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ แต่เมื่อได้ทำการวิจัยคัมภีร์สัทธัมมสังคหะแล้ว ผู้วิจัยเห็นว่าสาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอประโยชน์ที่แท้จริงคือสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา เอื้อประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติ ผู้ที่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ย่อมประสบแต่ความสุขและความเจริญ คัมภีร์สัทธัมมสังคหะมีหลักธรรมที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

 


Download :  255104.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕