หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวอรุณวรรณ บุญเทียบทิฆัมพร
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๑ ครั้ง
การพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนด้วยพุทธภาวนา : กรณีศึกษาค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวอรุณวรรณ บุญเทียบทิฆัมพร ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล
  ดร.ส่งเสริม แสงทอง
  นางไฉไลฤดี ยุวนะะศิริ
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนด้วยพุทธภาวนา : กรณีศึกษาค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการอบรมของค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ และเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนด้วยพุทธภาวนา ที่เข้าร่วมโครงการอบรมคุณธรรมค่ายวัดอุโมงค์ วิธีการศึกษาใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑ รุ่น และ เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๓ รุ่น รวมจำนวนทั้งหมด ๔ รุ่น ๔๐๐ คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๕ เป็นชาย คิดเป็น ร้อยละ ๓๕.๕ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลภาคสนามจากค่ายฝึกอบรมคุณธรรมวัดอุโมงค์มาวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาอภิปรายผลประกอบกับผลการสัมภาษณ์พระวิทยากร และการสังเกตเยาวชนผู้เข้ารับการอบรมตลอดกิจกรรมของค่ายในทุกขั้นตอน
                   ผลจากการศึกษาและวิจัยพบว่า ด้านวิธีการฝึกอบรมค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์จะเน้นการอบรมตามหลักพุทธภาวนา ๔ คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา โดยการแบ่งกลุ่มและธรรมบรรยาย เป็นวิธีที่มีประโยชน์ ทำให้มีความเข้าใจถึงเนื้อหาสาระได้มาก ด้านความเหมาะสมของการปฏิบัติ พบว่า มีความเหมาะสมของการฝึกมากที่สุด คือ มารยาทชาวพุทธ การเข้าร่วมกิจกรรมในฝึกอบรมพุทธภาวนาครั้งนี้ พบว่า เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของอาหาร ความกตัญญู การเคารพบิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ด้านวเลา พบว่า ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน มีความเหมาะสมกับการฝึกอบรมคุณธรรมค่ายวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) และตารางเวลาการทำกิจกรรม มีความเหมาะสม สามารถปฏิบัติได้มาก และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มาก ด้านวิทยากร พบว่า วิทยากรแต่ละท่านมีความรู้ ความสามารถ มีการเตรียมข้อมูลมาเป็นอย่างดี สามารถถ่ายทอดและให้ความรู้ตามเนื้อหาสาระของหลักสูตรได้มากที่สุดหลังจากผ่านการอบรม ทำให้นักเรียนเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักพุทธภาวนาได้มาก ด้านกายภาวนา นักเรียนได้ฝึกฝนตนเอง การเจริญภาวนาในอิริยาบถต่าง ๆ ได้มาก ด้านศีลภาวนา นักเรียนได้ฝึกฝนควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎ กติกา ควบคุมสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ได้มาก ด้านจิตตภาวนา ได้ฝึกฝนตนเองในการทำสมาธิได้มากที่สุด ด้านปัญญาภาวนา มีความเข้าใจในการฟังธรรมบรรยายได้มาก มองเห็นโทษของอบายมุข ได้มองเห็นคุณค่าของการเป็นลูกที่ดีเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีข้อเสนอแนะในการอบรม พอสรุปได้ดังนี้คือ
๑. ขอเพิ่มเวลาพักมากขึ้น
๒. ควรมีสื่อและเทคโนโลยีในการทำกิจกรรม
๓. เพิ่มนันทนาการ เกมธรรมะ และกิจกรรมที่สนุกสนาน
๔. ปรับปรุงเรื่องน้ำ
๕. การนำเสนอหลักธรรมที่มีตัวอย่าง ฟังแล้วเข้าใจง่าย

 


Download :  255054.pdf
 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕