หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบันเทิง ปณฺฑิโต (เครือจินดา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การประยุกต์พุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบันเทิง ปณฺฑิโต (เครือจินดา) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร
  ผศ.ดร.อาวรณ์โอภาสพัฒนกิจ
  นายบัณฑิต รอดเทียน
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ / พฤษภาคม / ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

                วิทยานิพนธ์เรื่อง การประยุกต์พุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีวัตถุปะสงค์ เพื่อ ๑) สืบค้นองค์ความรู้พุทธธรรม ความรู้ทั่วไป ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถนำมาประยุกต์ และบูรณาการเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ ๒) ประยุกต์องค์ความรู้พุทธธรรม และ บูรณาการองค์ความรู้ทั่วไป ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยประยุกต์ใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีวิทยาวิจัยผลการวิจัยพบว่า ๑) องค์ความรู้พุทธธรรม ความรู้ทั่วไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำมาประยุกต์และบูรณาการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ หลักธรรมภาวนา ๔ ซึ่งเป็นพุทธธรรมที่ว่าด้วยหลักการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หลักธรรมสัมมาทิฎฐิ ซึ่งเป็นพุทธธรรมที่ว่าด้วยวิธีการที่จะส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หลักธรรมสัปปายะ ๗ และอปริหานิยธรรม ๗ เป็นชุดพุทธธรรมที่ว่าด้วยหลักการสร้างชุมชนที่เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาเด็ก และนอกจากพุทธธรรมดังกล่าวแล้วยังมีใช้หลักการสร้างการมีส่วนร่วมแบบหุ้นส่วนมาส่งเสริมการทำงานในชุมชน การใช้หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก ซึ่งเป็นความรู้ทางจิตวิทยานำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตลอดจนการบูรณาการภูมิปัญญาของชุมชน ให้ความสำคัญและใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน
มาช่วยหนุนเสริมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ๒) ในกระบวนการประยุกต์พุทธธรรม ควบคู่กับความรู้ทั่วไปและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กนั้น ผลการวิจัยพบว่ามีการดำเนินการเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย (นิโรธ) มีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นการกำหนดเป้าหมาย และการกำหนดแผนพัฒนาเด็ก จากนั้นได้มีการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์พัฒนาเด็ก (มรรค) ซึ่งมีการวางการทำงานเป็น ๒ ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชุมชนเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก
และเข้ามามีส่วนร่วม ในลำดับต่อมาได้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวิถีชุมชน ซึ่งได้มีการพัฒนาสวนวัดให้เป็นสนามเด็กเล่น มีการสร้างสระน้ำคุณธรรม สร้างสนามเด็กเล่น ไว้เป็นเครื่องมือพัฒนาเด็ก มีกระบวนการธนาคารความดีเป็นกุศโลบายสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมให้แก่เด็ก การดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาการเด็ก ๒ ประการ คือ ปัจจัยทางสังคม (ปรโตโฆสะ) ที่สร้างสังคมที่ดี มีพุทธะผู้รู้ ธัมมะ ความรู้ และการเรียนรู้ และสังฆะ ชุมชน ที่เป็นสัปปายะ เป็นที่พึ่ง เสมือนการให้ไตรสรณคมณ์แก่เด็ก ตามนัยยะของการพัฒนาเด็ก และปัจจัยภายในของเด็ก (โยนิโสมนสิการ) ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่
เหมาะสมตามนัยยะของภาวนา


Download :  255040.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕