หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพินันท์ ชยาภินนฺโท (ลาดบัวขาว)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๙ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพินันท์ ชยาภินนฺโท (ลาดบัวขาว) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๑๐/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป
  ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติ และ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)ว่าเป็นอย่างไร และมีลักษณะที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

จากการศึกษาวิจัยพบว่าการศึกษาปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติได้ให้ความหมายของการศึกษาคือการเรียนรู้กระบวนการทั้งหมดของชีวิต ให้เกิดความเป็นเอกภาพ  พัฒนาจิตใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดอิสรภาพและมีสติปัญญา พัฒนาชีวิตของบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสามารถจำแนกจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้น ออกเป็น  ๒ ประเด็น คือ ๑. การศึกษาเพื่อให้รับความรู้ในสาขาต่างๆ ก่อให้เกิดความชำนิชำนาญที่สุดทางวิชาการและเทคโนโลยี  ๒. การศึกษาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยวิธีการเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงภายในความคิดด้วยความใส่ใจ การเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตเช่นนี้ไม่มีการเก็บบันทึกข้อมูลความรู้และประสบการณ์เอาไว้ จิตใจจึงเป็นอิสระจากการถูกกำหนดโดยเนื้อหาและเงื่อนไขของความคิด  และ มนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่ใช่บุคคลที่สะสมความรู้และไม่ใช่บุคคลสำรวจชีวิตข้างใน แต่มนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นคือต้องรู้จักตัวเอง จึงมีความอิสระอย่างแท้จริง

สำหรับปรัชญาการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มุ่งเน้นการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขา เพื่อให้มนุษย์บรรลุสภาวะที่ปราศจากความทุกข์ในที่สุด   เป็นกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อทำลายอวิชชาและตัณหา พร้อมทั้งเสริมฉันทะและกรุณา จุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกับจุดมุ่งหมายของชีวิต  จุดมุ่งหมายของการศึกษาในทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์  คือ การพัฒนาบุคคลให้เกิดการเปลี่ยนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานั้นสามารถมองในส่วนที่เป็นหน้าที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานได้   ประการคือ ๑. จุดมุ่งหมายในการถ่ายทอดความรู้ศิลปวิทยา              โดยอาศัยองค์ประกอบภายนอก กล่าวคือ ปรโตโฆสะ เป็นส่วนสำคัญ  ๒. จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยอาศัยองค์ประกอบภายใน คือ โยนิโสมนสิการ

            ปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติและ พระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ.  ปยุตฺโต ) นั้นมีประเด็นที่เหมือนกัน คือการศึกษากับชีวิตนั้นเป็นเรื่องเดียวกันเหมือนกัน  ในสองประเด็นนี้ คือ          ๑. จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้รับความรู้ในสาขาต่างๆ ก่อให้เกิดความชำนิชำนาญที่สุดทางวิชาการและเทคโนโลยี  ๒. จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องเป็นที่ยอมรับว่าจุดมุ่งหมายของท่านทั้งสองนั้นมีความเหมือนกันในแง่ของจุดมุ่งหมาย  และท่านทั้งสองก็เน้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาไปที่การศึกษาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  อันเป็นสิ่งที่ท่านสองมองว่าเป็นการศึกษาที่แท้จริง  แต่แนวคิดทางด้านการศึกษาของท่านต่างมีวิธีการที่แตกต่างกันคือ กฤษณมูรตินั้นใช้การเฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงภายในความคิดด้วยความใส่ใจ การเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตโดยไม่มีการสะสมข้อมูล  ส่วนพระพรหมคุณาภรณ์นั้นมีวิธีการศึกษาที่ก่อให้เกิดความรู้ภายในที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การศึกษาชีวิตและสรรพสิ่งโดยพิจารณาด้วยใจอันแยบคาย มีการคิดถูกวิธี ความรู้จักคิดหรือคิดเป็นนั่นเอง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕