หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวธรรมวลี ศรีแช่ม
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
การศึกษาปปัญจธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวธรรมวลี ศรีแช่ม ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร.
  ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การศึกษาปปัญจธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาความหมายและประเภทปปัญจธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพี่อศึกษากระบวนการเกิดปปัญจธรรมและความสัมพันธ์กับหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง (๓) เพื่อศึกษาวิธีการบรรเทาและการละปปัญจธรรม

ผลการวิจัยพบว่า ปปัญจธรรม ได้แก่ ตัณหา ๑๐๘ ทิฏฐิ ๖๒ มานะ ๙ ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า ที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งซับซ้อนพิสดารทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องขันธ์ ๕

ความสัมพันธ์ของปปัญจธรรมกับอุปาทานธรรมในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท ธรรม ๒ ข้อนี้ มีองค์ธรรมเดียวกัน ปปัญจธรรม คือ กิเลสที่ทำหน้าที่ซับซ้อน มีบทบาททำให้เกิดความเข้าใจผิดจากความจริง  จึงทำให้เกิดอุปาทานในขันธ์ ๕  

ปปัญจธรรมทำให้สัญญาวิปัลลาส และ ทำให้จิต และ ทิฏฐิวิปัลลาสและทำให้บุคคลดำเนินชีวิตไปแบบที่ผิด ในอริยสัจ ๔   ปปัญจธรรม คือ สมุทัย ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ และทำให้เกิดความไม่เข้าใจในขันธ์ ๕

ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ คือทุกข์   ปปัญจธรรม  คือ สมุทัย นิปปปัญจธรรม คือ  นิโรธ  มรรค คือ การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์    ปปัญจธรรมเกิดขึ้นที่จิต ซึ่งเกิดภายในอายตนะ ๖                

เพราะฉะนั้น  การบรรเทา และ ละปปัญจธรรม คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ทางอายตนะทั้ง ๖  สติที่กำหนดรู้ปปัญจธรรม  จะทำให้ปปัญจธรรมไม่สามารถเกิดขึ้นได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕