หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายไอศูรย์ อินทร์เพชร
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพสาครมุนี (แก้ว สุวณฺณโชโต) (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นายไอศูรย์ อินทร์เพชร ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  อาจารย์รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ  ๑)  เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาสังคมตามแนวทางของพระเทพสาครมุนี (แก้ว  สุวณฺณโชโต)   ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์แนวคิดในการพัฒนาสังคมของพระเทพสาครมุนี (แก้ว  สุวณฺณโชโต)

จากการศึกษาพบว่า  บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมนั้น  พระสงฆ์มีความสัมพันธ์กับสังคมโดยใช้หลักศาสนาช่วยวางรากฐานความเจริญแก่สังคมในด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ด้านการสาธารณูปการ  และด้านการสาธารณสงเคราะห์  เพื่อช่วยส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่สังคม  ส่งเสริมให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา  เพื่อมุ่งให้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ  อันจะทำให้การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองและสงบสุข

บทบาทการพัฒนาสังคมตามแนวพระเทพสาครมุนี (แก้ว  สุวณฺณโชโต) ท่านเป็นแบบอย่างที่ดี เคร่งครัดระเบียบวินัย วางระเบียบแบบแผน ข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด  ทั้งได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยความวิริยะ  อุตสาหะ  เสียสละ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่คณะสงฆ์และสาธารณชนทั้งในด้านการปกครอง  การเผยแผ่ การศึกษา การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ ปรากฏประจักษ์เป็นผลงานสืบมา

การประยุกต์แนวคิดในการพัฒนาสังคมของพระเทพสาครมุนี (แก้ว สุวณฺณโชโต) พบว่า ท่านได้นำหลักธรรมมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม  ด้านการปกครองท่านได้ปรับปรุงและประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม ๗ ได้อย่างเหมาะสม  ด้านการศาสนศึกษาได้วางรากฐานของชีวิตโดยการประยุกต์หลักไตรสิกขาซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิตให้ถูกต้อง ด้านการเผยแผ่ได้ประยุกต์แนวคิดจากหลายทฤษฎีมาใช้กับประชาชนอย่างมีผลสำเร็จ  ด้านการสาธารณูปการ  ท่านได้พัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ท่านได้ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ สงเคราะห์สังคมเพื่อให้ได้รับประโยชน์และความสุขอย่างแท้จริง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕