หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณัฎฐเสฎฐ์ อธิญาโณ (รุ่งเรือง)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๙ ครั้ง
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบวชเนกขัมมะของพุทธศาสนิกชน : ศึกษากรณี วัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระณัฎฐเสฎฐ์ อธิญาโณ (รุ่งเรือง) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  รองศาสตราจารย์ ดร. สมาน งามสนิท
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการบวชเนกขัมมะ (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (๓) เพื่อศึกษาทัศนคติที่เกี่ยวกับระดับการตัดสินใจในการบวชเนกขัมมะของพุทธศาสนิกชน วัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (๔) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบวชเนกขัมมะของพุทธศาสนิกชน วัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พุทธศาสนิกชนผู้มาบวชเนกขัมมะ จำนวน ๒๐๐ คน โดยสถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), และสถิติที่ใช้คือการทดสอบค่าที (t-test) กรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)

                        ผลการวิจัยพบว่า

                        ๑. ความเป็นมาของการบวชเนกขัมมะมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่จนนับชาติไม่ถ้วน จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วออกเผยแผ่ประกาศพระศาสนา จนมีสาวกผู้รู้ตาม และออกบวชปฏิบัติตาม  การบวชเนกขัมมะ คือ การออกจากกาม การไม่ติดอยู่ในกาม การอยู่ในที่สงัด ความเป็นอิสระจากนิวรณ์เครื่องขวางกั้นความดีทั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญสำหรับบุคคลผู้มีจิตใจมองเห็นโทษ หรือเบื่อหน่ายในเรื่องของกามคุณและโทษแห่งการอยู่ครองเรือน  ที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับกามคุณและอกุศลกรรมทั้งหลาย  ส่วนรูปแบบของการบวชเนกขัมมะที่เข้าใจและนิยมกันในปัจจุบัน คือ การนุ่งขาวห่มขาว การไม่โกนผม และการถือศีล ๘

                        ๒. แนวความคิดและทฤษฎีในการตัดสินใจนั้น มาจากความรู้และข้อมูลที่ได้รับเป็นส่วนใหญ่แล้วทำให้มีการตัดสินใจในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง  สำหรับแนวความคิดในการตัดสินใจบวชเนกขัมมะ มีผลมาจากการประชาสัมพันธ์ทางด้านต่าง ๆ  เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และ แนวความคิดที่สำคัญที่สุดคือแนวความคิดส่วนบุคคลในด้านความเชื่อว่าการบวชเป็นการสร้างบุญกุศลและเสริมสร้างบารบีให้ตนเอง ทัศนคติที่เกี่ยวกับระดับการตัดสินใจของผู้บวชเนกขัมมะ เป็นทัศนคติในด้านบวกและทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาบวชมากที่สุด และ ด้านที่มีผลมากคือ ชื่อเสียงของผู้ดำเนินโครงการ และชื่อเสียงของสำนักปฏิบัติธรรม และด้านความเชื่อว่าการบวชจะทำให้ตนเองได้รับประโยชน์ มีผลต่อระดับของการตัดสินใจของผู้บวชเนกขัมมะ

                       ๓. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจบวชเนกขัมมะ ศึกษากรณีวัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีจำนวน ๑๘๕ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๐  ส่วนเพศชายมีจำนวนเพียง ๑๕ คน  หรือร้อยละ ๗.๕๐  โดยส่วนใหญ่มีอายุ ๔๑ ปีขึ้นไป  คือมีจำนวน ๑๓๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๕๐  มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน ๖๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๕๐ มีอาชีพรับจ้างจำนวน ๙๕ คน  หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๗.๕๐ รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท  มีจำนวน ๖๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๕๐ ส่วนสื่อหรือปัจจัยเกี่ยวข้องกับการการตัดสินใจบวชเนกขัมมะพบว่า เพศหญิง ที่มีอายุ ๔๑ ปีขึ้นไป มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีอาชีพรับจ้าง จะทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบวชเนกขัมมะจากสื่อประเภทป้ายโฆษณามากที่สุด

                       ๔. เปรียบเทียบการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบวชเนกขัมมะของพุทธศาสนิกชน ศึกษากรณีวัดนครป่าหมาก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า พุทธศาสนิกชนผู้บวชเนกขัมมะที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการตัดสินใจบวชเนกขัมมะไม่แตกต่างกัน ส่วนอาชีพ รายได้ต่อเดือนส่งผลให้มีการตัดสินใจบวชเนกขัมมะที่แตกต่างกัน

โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบวชเนกขัมมะ มากที่สุด คือ มีความศรัทธาเชื่อมั่นในชื่อเสียงของผู้ดำเนินโครงการบวชหรือชื่อเสียงของทางวัดมากที่สุด ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบวชเนกขัมมะ ๓ อันดับแรก คือ  เห็นว่าทำให้ได้บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี  รองลงมา คือ ทำให้ได้ฟังหลักธรรมจากครูบาอาจารย์  ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น  โดยมุ่งเน้นเพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี  เพื่อศึกษาเรียนรู้หลักธรรมและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตก่อให้เกิดความสงบร่มเย็นในจิตใจ และเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความทุกข์

download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕