หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระฤกษ์ดำรงค์ ปญฺญาธโร (จันทร์แสง)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและรูปแบบการนำเสนอ เรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : เรื่องเย้ยฟ้าท้าดิน (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระฤกษ์ดำรงค์ ปญฺญาธโร (จันทร์แสง) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชวนะ ภวกานันท์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด และรูปแบบการนำเสนอเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง “เย้ยฟ้าท้าดิน  ๓) เพื่อศึกษาทัศนคติ และความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ของผู้เกี่ยวข้องและผู้ชมละครโทรทัศน์เรื่อง เย้ยฟ้าท้าดิน

วิธีดำเนินการวิจัยมี ๒ วิธีคือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการศึกษาภาคสนาม  การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก  อรรถกถา  หนังสือ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารเผยแผ่ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ  ที่ว่าด้วยเรื่องของกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และศึกษาแนวคิดทฤษฎีและรูปแบบการนำเสนอเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏใน ละครโทรทัศน์ เรื่อง “เย้ยฟ้าท้าดิน โดยศึกษาจากเนื้อหาบทละคร เอกสาร หนังสือ สิ่งที่ตีพิมพ์ นิตยสาร ของผู้ประพันธ์ และผู้เขียนบท การศึกษาภาคสนาม จากการสัมภาษณ์ บุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องกับละครโทรทัศน์เรื่อง เย้ยฟ้าท้าดิน ได้แก่ ผู้ประพันธ์ ผู้กำกับ ผู้รับชม จำนวน ๑๐ คน รวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ เพื่อทำการวิเคราะห์ ประมวลเป็นองค์ความรู้ สรุป อภิปรายผล และพร้อมเสนอแนะ

ผลการศึกษาวิจัย เรื่องกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า พระพุทธศาสนา ให้ความสำคัญกับ “กฎแห่งกรรม” กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นคำกลางๆ ที่ไม่ได้มีความหมายว่าเป็นความชั่วหรือเป็นคำกล่าวว่าไม่ดี หากแต่กฎแห่งกรรมที่กระทำที่ประกอบด้วยๆ เจตนา คือทำด้วยความจงใจ หรือจงใจทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำดีหรือทำชั่วก็ตาม แต่เมื่อเป็นการกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่วเรียกว่า กรรมชั่วแต่กฎแห่งกรรมที่สะท้อนในละครโทรทัศน์นั้นเป็นกฎแห่งกรรมที่ต้องการสื่อให้เห็นถึง กรรมดีหรือกรรมฝ่ายกุศลย่อมชนะฝ่ายอกุศล หรือธรรมะย่อมชนะอธรรม  กฎแห่งกรรมที่บุคคลกระทำลงไปไม่ว่าจะเป็นความดีหรือความชั่วก็ตาม ตัวของบุคคลแต่ละคนจะต้องเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำนั้นด้วยตนเอง หากแต่ กฎแห่งกรรมบางอย่างการให้ผลช้าหรือเร็วเท่านั้น แต่กฎแห่งกรรมนั้นจะส่งผลติดตามเป็นวิบากที่จะส่งผลกรรมตลอดเวลา  กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องอจินไตยที่บุคคลไม่ควรคิดหรือกล่าวถึงเพราะไม่ใช่วิสัยของบุคคลทั่วไปหากแต่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

สำหรับแนวคิด และรูปแบบการนำเสนอเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง เย้ยฟ้าท้าดิน พบว่า ละครยังเป็นที่นิยมที่มีผู้ชมเป็นกลุ่มผู้บริโภค ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต่างต้องประสบกับปัญหาที่ว่า จะผลิตละครโทรทัศน์ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมส่วนใหญ่ภายใต้ภาวะการแข่งขัน และเงื่อนไขของเวลา จึงต้องมีการอิงอาศัยเทคนิค การสร้างฉาก การมีดาราแสดงนำที่เป็นที่นิยม ทั้งฝ่ายชายและหญิง พร้อมกับการสะท้อนอัตลักษณ์ของตัวละคร ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี  เนื้อหาละครเรื่อง เย้ยฟ้าท้าดิน ได้สื่อให้เห็นกฎแห่งกรรม ได้แก่ ภวินทร์ เป็นผู้แทนฝ่ายกรรมดี (กุศลกรรม) มากกว่าฝ่ายกรรมไม่ดี   เมฆา เป็นผู้แทนฝ่ายกรรมไม่ดี(อกุศลกรรม) มากกว่าฝ่ายกรรมดี

ส่วนทัศนคติ  และความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ของผู้เกี่ยวข้องและผู้ชมละครโทรทัศน์เรื่อง เย้ยฟ้าท้าดิน พบว่า ส่วนใหญ่เชื่อว่ากฎแห่งกรรมจะติดตามตัวบุคคลและส่งผลตลอดเวลา ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับสิ่งที่ดีตอบแทน หากทำความชั่วย่อมได้รับสิ่งที่ชั่วตอบแทน หากบุคคลใดยึดมั่นในความดีไม่ว่าจะประสบความทุกข์ยากลำบากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ดีย่อมจะปรากฏผลอย่างแน่นอน

 

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕