หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุริยา สํวโร (ดวงปัญญา)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสงฆ์ แขวงสะหวันนะเขต (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุริยา สํวโร (ดวงปัญญา) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์, ดร.
  รองศาสตราจารย์สมหมาย ชินนาค
  ดร. เรืองเดช เขจรศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา และศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการศึกษาของสงฆ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โรงเรียนมัธยมสงฆ์ในแขวงสะหวันนะเขต   กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้บริหาร   ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 205 รูป/คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่  (1) ถามข้อมูลทั่วไป เป็นแบบตรวจสอบรายการ  (2) ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาของสงฆ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา และแนวทางแก้ไขการจัดการศึกษา   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

ผลการศึกษาพบว่า  

1.                 ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ พบว่าโดยรวม ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่าทุกด้านได้แก่ ด้านบริหารการจัดการศึกษา ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านบุคลากร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  โดยที่ด้านการจัดหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด  และด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด   โดยมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านได้แก่  (1) การวางแผนการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ก้าวหน้า (2) เนื้อหาวิชาเน้นการนำความรู้มาหล่อหลอมจิตใจให้เป็นคนดี (3) ครูสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้เข้าใจเป็นอย่างดี  (4) การวางแผนพัฒนาการวัดผลประเมินผล  (5) การวางแผนพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน

2.                 สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์  พบว่า สภาพปัญหาตามความคิดเห็นที่มีความถี่สูงได้แก่  (1) ผู้บริหารไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ และสรรหาบุคลากรที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญเข้ามาปฏิบัติงาน  (2) หลักสูตรเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะความรู้มาประยุกต์เข้ากับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันได้น้อย (3) สื่อเทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนไม่มี (4) ความยุติธรรมเกี่ยวกับการดำเนินการสอบ (5) บุคลากรครูไม่พอ      โดยมีแนวทางแก้ไขตามความคิดเห็นที่มีความถี่สูง ได้แก่  (1) ควรมีระบบการคัดเลือกอาจารย์ตามความรู้ ความสามารถ และตรงกับสาขาที่ต้องการเข้ามาปฏิบัติงาน (2) การจัดหลักสูตรควรพิจารณาถึงเหตุการณ์สภาพจริงของสังคม จัดให้เป็นสากลและมีมาตรฐาน (3) รัฐและคณะสงฆ์ควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดชื้ออุปกรณ์การศึกษา และฝึกทักษะแก่อาจารย์ผู้สอน (4)  การประเมินผลไม่ควรเน้นความจำอย่างเดียวและควรมีกรรมการกลางควบคุมการสอบ  

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕