หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุตภัทรธรรม (สำเรียง เนื่องกระโทก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในงานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครองอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุตภัทรธรรม (สำเรียง เนื่องกระโทก) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  ดร.ยุทธนา พูนเกิดมะเริง
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษางานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครองอำเภอจัตุรัส (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในงานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครอง  อำเภอจัตุรัส และ (๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในงานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครองอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า

งานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครองอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ นั้นมีแนวทางตามรูปแบบของโครงการคือโครงการที่พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการพัฒนามี ๖ โครงการ คือ (๑) โครงการอบรมศีลธรรม  (๒) โครงการอบรมประชาชนประจำตำบล                 (๓) โครงการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  (๔) โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน             (๕)โครงการพัฒนาคุณภาพทางจิตเพื่อคุณภาพที่ดี (รักษาอุโบสถศีล) และ(๖)โครงการอบรมปฏิบัติธรรมให้กับนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งแสดงออกโดยผ่านกิจกรรมพัฒนาชนบท ต่าง ๆ และมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาคน เพราะว่าการพัฒนาคนแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ยากลำบากมากและต้องใช้เวลามาก ประกอบกับในชุมชนนั้น จะต้องประกอบด้วยคนและสิ่งแวดล้อมที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดไม่ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมนี้ถือเสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของคน เกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม คือ  ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษามี           ๕ โครงการ คือ  (๑) โครงการอบรมอาชีพ  (๒) โครงการปลูกป่าสมุนไพร(๓) โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (๔) โครงการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม และ(๕)โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำ

การประยุกต์ใช้หลักธรรมในงานพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์เขตการปกครอง         อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ  คือ  การประยุกต์ใช้หลักธรรมทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์  หลักธรรมอิทธิบาท   หลักธรรมพรหมวิหาร และ  หลักธรรมสัมมาอาชีวะ   หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ พระสงฆ์ได้ใช้ในงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของพระสงฆ์  ท่านนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านนำมาใช้เป็นหลักในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมธรรมชาติ คือนำมาเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้ส่งเสริมให้ชาวบ้านพึ่งพาตนเอง เป็นอยู่อย่างพอเพียงและตัวพระสงฆ์เองในการทำงานพัฒนาชุมชน คือ  ได้นำมาเป็นฐานในการทำงาน  ได้นำมาเป็นหลักยึดในการทำงาน และ ได้นำมาเป็นหลักในการส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชน  เช่น ในเรื่องของการออม คือการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการออมน้ำ ออมดิน ออมทรัพย์  การออมสิ่งต่าง ๆ จะต้องมีความหมั่น ขยัน อดทน เพื่อที่จะรักษาไว้ให้ได้ใช้ประโยชน์  นาน ๆโดยเฉพาะการออมทรัพย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานดำรงชีพ เราจะต้องใช้จ่ายให้พอเหมาะแก่ฐานะ ไม่ดิ้นรนให้เกินตนเอง ห้ามใจให้ได้ แล้วก็ใช้ตัวเองให้เป็น มีความสันโดษอยู่พอเพียงรู้จักสิ่งที่เหมาะแก่พื้นที่ จึงทำให้ชีวิตพบความสุข และพระสงฆ์ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายทุกโครงการ

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕