หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวปถมพร ตะละภัฏ
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์สัมมาทิฏฐิในการสร้างสันติสุขในสังคมไทย (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวปถมพร ตะละภัฏ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ,ผ.ศ.ดร.
  ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์สัมมาทิฏฐิเพื่อการสร้างสันติสุขในสังคมไทยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ  (๑) เพื่อศึกษาหลักสัมมาทิฏฐิ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับสันติสุข (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักสัมมาทิฏฐิในการสร้างสันติสุขในสังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า สัมมาทิฏฐิในทัศนะของนักวิชาการทางศาสนาจะมีความเห็นพ้องกันว่า สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นตรง มีความเข้าใจถูกต้อง มีปัญญาอันเห็นชอบพิจารณาเพื่อพัฒนาไปสู่ความหลุดพ้น คือนิพพาน สัมมาทิฏฐิ มีปัจจัย ๒ ประการ คือ  (๑) ปรโตโฆสะ แปลว่า อิทธิพล หรือเสียงจากภายนอกได้แก่กัลยาณมิตร ให้คำแนะนำที่ถูกต้องดีงาม  (๒) โยนิโสมนสิการ แปลว่าการทำในใจโดยแยบคาย รู้จักคิด คิดเป็น  อันจะทำให้เกิดความเห็นถูกต้องได้

การวิจัยนี้มีขอบเขตแห่งการศึกษาโลกิยสัมมาทิฏฐิ เป็นหลักการสร้างสันติสุขในชีวิต อันมีผลโดยตรงต่อการสร้างความเห็นถูกในระดับบุคคล ระดับสังคม และทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข หลักธรรมอื่นๆที่สัมพันธ์กับสัมมาทิฏฐิ สามารถนำหลักการที่เป็นจริง มีเหตุผลในการพิจารณาคิดอย่างแยบคายรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็เจริญสมาธิ ภาวนา ตระหนักรู้ถึงเหตุการณ์ได้ดี และผลของการปฏิบัติ คือการนำมาซึ่งความสงบ สันติสุขในสังคมไทย

 

เมื่อพิจารณา สันติสุข อย่างเป็นองค์รวม ในมิติที่มาของความสุขและสันติสุข จะพบ

 

ว่ามีที่มาได้ ๒ ทาง คือ ๑) ความสุขภายใน เป็นความสุขที่เกิดขึ้นในระดับจิตและปัญญา และ ๒) ความสุขภายนอก มักจะสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ  ในการดำรงชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นความสุขของแต่ละบุคคลถือเป็นรากฐานของสังคม ความสุขในพระพุทธศาสนามี๒ประเภท สันติสุขแบบโลกิยสุข คือสุขที่เนื่องด้วยโลกิยธรรม สุขที่อิงอาศัยโลก และสันติสุขแบบโลกุตรสุข  คือ ความสุขอันเป็นเรื่องภายในจิตใจ ที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยสติปัญญา

 

 

โดยแท้จริงแล้ว  การดำเนินชีวิตตามหลักไตรสิกขา เพื่อการพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง คือการได้พัฒนาตนให้มีความเห็นถูก เห็นชอบ จะมีคุณสมบัติ คือมีความรู้แจ้งอย่างสูงสุด  มีความกรุณาต่อผู้อื่นอย่างสูงสุด และมีความสุขอย่างสูงสุด อันจะนำไปสู่จุดหมายคือ การแผ่ขยายความสุขสงบ สันติจากระดับบุคคลไปสู่สังคม ในการสร้างสันติสุขในสังคมไทยอย่างยั่งยืน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕