หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวเกศินี ลิ่มบุญสืบสาย
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๗ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของหมอชีวกโกมารภัจ ที่ปรากฎในคัมภีร์ (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวเกศินี ลิ่มบุญสืบสาย ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  นายสนิท ศรีสำแดง
  นายรังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๔๕
 
บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติของหมดชีวกโกมารภัจ ที่หรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระดับพระไตรปิฏกและอรรกถา โดยเน้นปฏิปทาเฉพาะตัว บทบาทในการเป็นแพทย์ถวายการรักษาพยาบาลแด่พระพุทธเจ้า ถวายการรักษาพยายบาลแด่พระภิกษุสงฆ์ ถวายการรักษาพยาบาลแด่พระเจ้าแผ่นดิน รักษาพยาบาลข้าราชบริพารและประชาชน และการอุปถัมภ์เผยแผ่พระพุทธศาสนา อันเป็นแบบอย่างอนุชนจะพึงถือเอาเป็นทิฏฐานุคติ

                ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท ในแต่ละบทได้ศึกษางานสำคัญ ดังนี้

                บทที่ ๑ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

                บทที่ ๒ ชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัจและบทบาทอันแสดงถึงความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล

                บทที่ ๓ ความเกี่ยวข้องระหว่างหมอชีวกโกมารภัจกับบุคคลสำคัญ เช่น พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์

                บทที่ ๔ ศึกษาวิเคราะห์วิธีการรักษาพยาบาลของหมอชีวกโกมารภัจ เช่น วิธีการวินิจฉัยโรค รักษาด้วยยาสมุนไพรและการผ่าตัด เปรียบเทียบกับวิธีการรักษาโรคในสมัยปัจจุบัน

                บทที่ ๕ สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

                จากการศึกษาถึงบทบาทของหมอชีวกโกมารภัจ ผู้วิจัยพบความโดดเด่นพิเศษของหมอชีวกโกมารภัจ ดังต่อไปนี้

                ช่วงต้นพุทธกาล พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายอยู่ในกรุงราชคฤห์ ภิกษุสงฆ์ที่อาศัยอยู่ ณ ที่เมืองนั้น ต้องรักษาพยาบาลกันเองในเวลาเกิดเจ็บป่วย แสวงหายาบำบัดโรคจากญาติหรือจากบุคคลที่ออกปากจะถวายไว้ ซึ่งก็ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

                เมื่อหมอชีวกโกมารภัจ ศึกษาสำเร็จวิชาแพทย์มาจากตักสิลาแล้วถวายตัวเป็นแพทย์ประจำ ถวายการรักษาพยาบาลแด่พระพุทธเจ้า และถวายการรักษาพยาบาลแก่ภิกษุสงฆ์ที่อาพาธทำให้ภิกษุสงฆ์ไม่ลำบากยุ่งยากในการรักษาพยาบาลในการแสวงหายาบำบัดโรค

                ท่านได้รับความไว้วางพระทัยจากพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงมอบหมายให้ท่านเป็นแพทย์หลาวถวายการรักษาพระองค์ และให้การรักษาพยาบาลข้าราชสำนักทั้งหมดนอกจากนี้ หมอชีวกโกมารภัจ ยังได้ทำการผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีกรุงราชคฤห์ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของลูกชายเศรษฐีเมืองพาราณสี ซึ่งถือว่า วิชาการแพทย์ที่หมอชีวกโกมารภัจ ศึกษาในสมัยนั้น ก้าวหน้ามากที่สามารถรักษาแบบผ่าตัดได้

                นอกจากจะถวายการรักษาพยาบาลภิกษุสงฆ์ที่อาพาธให้หายจากอาพาธหมอชีวกโกมารภัจยังมีส่วนสนับสนุนให้ภิกษุสงฆ์ได้รับความสะดวกสบาย โดยการกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทราบปัญหาและวางระเบียบปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น กราบทูลเสนอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ กราบทูลขอพระพุทธนุญาต ให้ภิกษุสงฆ์ซึ่งแต่เดินต้องแสวงหาผ้านุ่งห่มกันเองตามแต่จะได้ ให้รับผ้าที่คฤหัสถ์ถวาย ทำให้ภิกษุสงฆ์ได้รับความสะดวกมาจนกระทั่งทุกวันนี้

                นอกจากนี้ หมอชีวกโกมารภัจ ยังเป็นห่วงการที่มีผู้กล่วงโทษเรื่องฉันเนื้อสัตว์ของภิกษุสงฆ์ ได้เข้ากราบทูลของฟังคำแนะนำจากพระพุธเจ้า ซึ่งพระองค์กได้ทรงชี้แจงให้ทราบว่า ภิกษุสงฆ์จะฉันเฉพาะปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป) ไม่ฉันอุทิสสมังสะ (เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงถวายภิกษุสงฆ์)

                หมอชีวกโกมารภัจมิได้เป็นแต่เพียงแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยพุทธกาลเท่านั้นแต่ท่านยังเป็นคนดี มีความกตัญญูกตเวที สีสติ มีปํญญา มีความเพียร เอาใจใส่และมีความหวังดีต่อคนไข้หรือต่อส่วนรวมเป็นหลัก นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่มีศิลธรรมและมีจริยธรรมความเป็นแพทย์อย่างสมบูรณ์

                บทบาทปฏิปทาเฉพาะตัวของหมอชีวกโกมารภัจ เกี่ยวกับการถวายการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ด้วยการถวายการรักษาพยาบาลภิกษุสงฆ์และชักนำให้มีการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์ ได้เป็นแนวทางที่อุบาสิกาในภายหลังได้ยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน และท่านก็ยังเป็นพุทธบริษัทที่ดีเลิศท่านหนึ่ง ท่านเป็นหนึ่งในเอดทัคคะฝ่ายอุบาสกผู้ได้สร้างคุณความดีไว้ในพระพุทธศาสนาชั่วนิรันดร์ จึงเป็นการสมควรที่จะได้ยกย่องและเทิดทูนท่านและยึดถือจริยวัตรของท่านเป็นแนวทางการปฏิบัติตัวของแพทย์และพุทธศาสนิกชนรุ่นหลังต่อไป

Download : 254509.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕