หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูไพโรจน์ภัทรคุณ (วิโรจน์ ภทฺทปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๗๓ ครั้ง
ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูไพโรจน์ภัทรคุณ (วิโรจน์ ภทฺทปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. เติมศักดิ์ ทองอินทร์ ปก.ศ., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ – ๒, น.ธ.เอก, พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Public. Admint.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพระภิกษุที่มีต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุที่มีต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของพระภิกษุเกี่ยวกับภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในอำเภอกำแพงแสน จำนวน ๒๕๙ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับความคิดเห็นของพระภิกษุที่มีต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของพระภิกษุต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในเขต ดังกล่าววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

                  ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. ความคิดเห็นของพระภิกษุต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมทั้ง ๗ ด้าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๑ และเมื่อจำแนกรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด พบว่า ด้านการศึกษาอบรมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๑ รองลงมาคือ ด้านศาสนบุคคล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๕ ด้านคุณลักษณะของความเป็นผู้นำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๔ และด้านปัจจัยการบริหารงานของเจ้าอาวาส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๘ ด้านศาสนวัตถุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๗ ด้านศาสนพิธี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๖ และด้านการบริหารงานบุคคล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๐ ตามลำดับ

๒. ในด้านภาวะผู้นำ เมื่อจำแนกตามสถานสภาพส่วนบุคคลโดยรวม พระภิกษุที่มีอายุ พรรษา การศึกษาทางโลก และการศึกษาทางบาลี ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับพระภิกษุที่มีการศึกษาทางธรรม และตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสแตกต่างกันซึ่งยอม รับสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหาส่วนใหญ่ของเจ้าอาวาสแต่ละวัด ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวัดและชุมชนใกล้เคียงอยู่ในระดับปานกลาง และทำแบบเชิงรับอยู่กับที่อยู่กับวัดเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ขยายขอบเขตการทำงานลงสู่ชุมชนเท่าที่ควร ทำให้ขาดการรับทราบข้อมูล และปัญหาที่แท้จริง  เจ้าอาวาสส่วนใหญ่ไม่มีนโยบาย และการวางแผนที่ชัดเจน ขาดการทำงานเป็นระบบมีเครือข่ายซึ่งต่างวัดต่างทำ และที่สำคัญคือขาดบุคคลากรที่มีศักยภาพที่จะมาสนองงานด้านการพัฒนาแต่ละด้าน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕