หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการไพศาล กิตฺติภทฺโท (บำรุงแคว้น)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เรื่องการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย (๒๕๔๕)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการไพศาล กิตฺติภทฺโท (บำรุงแคว้น) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  รศ.ดร.จินดา จันทร์แก้ว
  นายเฉลียว รอดเขียว
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๕
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เรื่องการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย พระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ จิตใจเป็นองค์ประกอบสำคัญ เมื่อมนุษย์ป่วยทางด้านร่างกาย จิตใจก็พลอยกระทบกระเทือนไปด้วย ในทำนองเดียวกันเมื่อมนุษย์ ไม่สบายใจ ร่างกายก็พลอยกระทบกระเทือนไปด้วย การบำบัดรักษาต้องดำเนินควบคู่กันไปทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บางคนป่วยใจมากกว่าป่วยกาย เมื่อจิตใจสำคัญกว่าร่างกายเช่นนี้ พระพุทธศาสนาจึงเน้นเรื่องการดูแลจิตใจเป็นสำคัญ


     พระพุทธศาสนาถือว่าการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จำเป็นต้องอาศัยแพทย์และพยาบาลรวมทั้งญาติพี่น้อง นอกจากบุคคบเหล่านี้ต้องมีความรู้ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเยียวยารักษาแล้ว ต้องมีความรู้ความเข้าใจสภาวะความเป็นมนุษย์ของบุคคลด้วยบุคคลนอกจากประกอบไปด้วยกายหรือรูปธรรมแล้ว ยังประกอบด้วยภาวะทางจิต ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม เหตุผล ความรู้สึก สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เป็นคุณลักษณธทางจิตที่ควบคู่ไปกับมนุษย์ตลอดเวลา การดูแลผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสภาวะเหล่านี้ด้วย


     คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ค่านิยมทางศีลธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตย่อมได้รับอิทธิพลมาจากพุทธปรัชญาเป็นพื้นฐาน แม้ในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ พยาบาล ญาติพี่น้อง และผู้ดูแลคนไข้ นอกจากจะใช้จรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นพื้นฐานแล้ว ยังต้องนำหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การดูแลผู้ป่วย การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดดูแลผู้ป่วยด้านจิตใจเป็นวิถีทางบำบัดรักษาที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับส่งผลให้การบำบัดโรคทางกายหายได้ไวหรือไม่ลุกลามไป


     การศึกษาพบว่าพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการเยียวยา ๒ ด้าน คือ ด้านสัจธรรม คือการดูแลรักษาชีวิตตามธรรมชาติ กับด้านจริญธรรมคือการดูแลรักษาโรคที่เกิดขึ้นทั้งทางกายและจิตใจด้วยการเน้นการกระทำที่ถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์แก่คนไข้อย่างแท้จริง
 

Download : 254521.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕