หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการประทุม จารุวํโส (ปรางมาศ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนา เถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการประทุม จารุวํโส (ปรางมาศ) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์ ป.ธ.๙, พ.ม., M.A., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์ พธ.บ., M.A., ปร.ด.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์ พธ.บ., M.A., ปร.ด.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

                                               บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ () เพื่อศึกษาเรื่องเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท () เพื่อศึกษาเรื่องเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท () เพื่อเปรียบเทียบเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า

๑.  เทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท เทวดา หมายถึง หมู่เทพชาวสวรรค์ เป็นคำรวมเรียก ชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีปรากฎ ๓ ประเภท คือ () สมมติเทพ       () อุปปัติเทพ และ () วิสุทธิเทพ เทวดามีลักษณะเป็นผู้ที่มีชีวิตและภาวะอันเป็นทิพย์ มีกายเป็นแสงสว่างเปล่งรัศมีและเสวยทิพย์ เทวดามีอายุขัยในสวรรค์โดยเฉลี่ย ๑ วันเท่ากับ ๘๐๐ ปี ในโลกมนุษย์  และบุคคลที่เป็นเทวดาได้จะต้องมีหลักธรรม คือ หลักเทวธรรม วัตตบท ๗  บุญกิริยาวัตถุ  สัมปทา ๕ กุศลกรรมบถ ๑๐

๒.  เทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท                      เทพ หมายถึง เทพเจ้าที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติมีการบูชาศักดิ์เป็นไปตามความเชื่อเกี่ยวกับโลก การบันดาลความสุข การเกิด และความตาย เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นที่เกิดจากความเชื่อว่าเทพเจ้าสามารถดลบันดาลให้สุขและให้ทุกข์ได้ตามความเชื่อนั้นต่อมาในระยะหลังการนับถือเทพเจ้ามีการเปลี่ยนแปลง จึงได้มีการดัดแปลงเทพเจ้าให้มีอิทธิพลในอำนาจหน้าที่ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ () พระพรหม คือ ผู้สร้าง เป็นเทพเจ้าองค์ใหญ่สูง () พระศิวะ คือ ผู้ทำลาย และ ()พระวิษณุ คือ ผู้รักษา เทพเจ้าทั้งสามองค์ถือว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุดในหมู่เทพทั้งปวง ซึ่งอายุของเทพในยุคเริ่มต้นแล้วมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ ๔,๘๐๐ ปีเทพ เท่ากับ ๑,๗๒๔,๐๐๐ ปีมนุษย์ และการที่จะเกิดเป็นเทพได้นั้นจะต้องมีการประพฤติตามหลักกุศลกรรม การประพฤติบูชายัญ และการประพฤติพรหมจรรย์

๓.  เปรียบเทียบเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์      ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น ความเหมือนของเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ต่างถือกำเนิดเกิดขึ้นจากธรรมชาติ เทวดาและเทพเจ้าต่างอาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้นสูง เทพและเทวดามีอายุไม่เท่ากันในสวรรค์แต่ละชั้นเหมือนกัน มีอำนาจตามสถานะที่ได้ทำบุญกรรมเอาไว้ ส่วนความต่างของเทวดาในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับเทพในทัศนะของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เทวดาในทัศนะทางพระพุทธศาสนามีวิวัฒนาการจากมนุษย์มีการเชื่อมโยงเป็นไปตามสังสารวัฎฎ์ คือ กิเลส กรรมและวิบาก เทวดาในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นจากมนุษย์ที่ปฎิบัติตามหลักเทวธรรม วัตตบท ๗ บุญกิริยาวัตถุ สัมปทา ๕ กุศลกรรมบถ ๑๐ จึงทำให้ไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นต่าง ๆ ได้  ส่วนในทัศนะของศาสนาพราหมณ์นั้นจะต้องมีหลักการประพฤติตามหลักกุศลกรรม การประพฤติบูชายัญ และการประพฤติพรหมจรรย์ จึงจะเกิดเป็นเทวดาได้

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕