หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายบดินทร์ จิตต์เจริญ
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๔ ครั้ง
การรับรู้หลักโภชนาการในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นายบดินทร์ จิตต์เจริญ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร.ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Pali & Buddhist Studies)
  ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A.(Phi.), M.A.(Appl.Psy.), Ph.D. (Psy.)
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร., พธ.ม(การสอนสังคม),พธ.ม, (ภาษาอังกฤษ), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy).
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                        งานวิจัย เรื่องการรับรู้หลักโภชนาการในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้หลักโภชนาการในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ ๒) เพื่อศึกษาความแตกต่างในระดับการรับรู้หลักโภชนาการในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๗๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และ One-Way ANOVA

                    ผลการศึกษาพบว่า

                    ๑.  หลักโภชนาการในพุทธศาสนา

                                สามารถสรุปได้ ๒ ประการ คือ ๑) หลักโภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภคทั้งปริมาณและประเภทอาหาร โดยพิจารณาด้วยปัญญาเพื่อเสพคุณค่าแท้จริงของอาหาร และ ๒) หลักอาหารสัปปายะ โดยพิจารณาอาหารที่เอื้อต่อการอยู่ดี ถูกกับร่างกาย เพียงพอ ถูกสุขลักษณะ ไม่ลำบาก และอนุเคราะห์ต่อพรหมจรรย์ นอกจากนี้โดยทั่วไปหลักโภชนาการในพุทธศาสนาสอดคล้องกับหลักโภชนาการทางการแพทย์ที่เน้นให้บริโภคเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซม และความปกติของระบบร่างกายต่าง ๆ ไม่มากหรือน้อยเกินไป สอดคล้องกับหลักการแพทย์แผนไทยที่เน้นการบริโภคอาหารให้สอดคล้องตามธาตุ เพื่อความสมดุลและบำบัดโรค และสอดคล้องกับการแพทย์ทางเลือกที่เน้นการบริโภคเพื่อรักษาความสมดุลย์แห่งหยินหยาง และสภาพปัจจุบันของผู้บริโภค

                    ๒.  ข้อมูลทั่วไป

                                กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (๖๕.๕%) เป็นพระภิกษุ (๕๐.๒%) อายุต่ำกว่า ๒๕ ปี (๔๔.๗%) เป็นโสด (๘๓.๓%) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (๔๐.๗%) ไม่ได้ศึกษาแผนกธรรม (๔๒.๖%) ไม่ได้ศึกษาแผนกบาลี (๗๕.๖%) และส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาบ่อยที่สุด คือ สวดมนต์ (๕๗.๕%)

                    ๓.  ระดับการรับรู้หลักโภชนาการ

                                โดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้หลักโภชนาการในพระพุทธศาสนาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๗๔, S.D. = ๐.๙๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เรื่องอาหารเพื่อจิตภาวนาอยู่ในระดับสูงสุด (  = ๔.๒๒, S.D. = ๐.๘๓) และประเภทและลักษณะอาหาร (  = ๓.๖๔, S.D. = ๑.๐๖) การเลือกอาหารที่เหมาะกับตนเอง โภชนสัปปายะ (  = ๓.๖๔, S.D. = ๐.๙๓) ส่วนด้านการรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร โภชเนมัตตัญญุตา กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๔๖, S.D. = ๑.๐๖)

                    ๔.  ความแตกต่างในระดับการรับรู้

                                โดยรวมทุกด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างในระดับการรับรู้ในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับการศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่บ่อยที่สุด มีความแตกต่างกันในระดับการรับรู้หลักโภชนาการตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันในสถานภาพของชาวพุทธ เรื่องสถานภาพสมรส ไม่มีความแตกต่างกันในระดับการรับรู้สภาวะโภชนาการตามหลักพระพุทธศาสนา

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕