Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาสมชาติ นนฺทธมฺมิโก (บุษนารีย์)
 
Counter : 20025 time
ศึกษาคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนาพระมหาสมชาติ (๒๕๕๐)
Researcher : พระมหาสมชาติ นนฺทธมฺมิโก (บุษนารีย์) date : 28/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล
  พระมหาสง่า ธีรสํวโร
  ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
Graduate : 2550
 
Abstract

     งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนาเป็นการ ศึกษาวิจัยข้อมูลทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องนำมา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เสนอแนวคิดของผู้วิจัย และใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แนวคิดของพระสงฆ์และประชาชนที่มีต่อการเทศน์มหาชาติล้านนาผลจาก การศึกษาวิจัยได้ผลสรุปว่า การเทศน์มหาชาติแบบล้านนาเป็นงานวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อสั่งสอนศีลธรรม จริยธรรมให้กับสังคมล้านนา การเทศน์มหาชาติล้านนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากกรุงสุโขทัย แล้วซึมซับเข้าสู่วิถีชีวิตของชาวล้านนา โดยผสมผสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ จนเกิดการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวรรณกรรม จนมีนักปราชญ์ล้านนาเป็นจำนวนมากได้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้แบ่ง ออกเป็น ๒ สำนวนคือ สำนวนร้อยแก้วและสำนวนร้อยกรอง จากการศึกษาพบว่าสำนวนร้อยแก้วพบมากอยู่ในใบลาน พับสา เขียนหรือจารด้วยอักษรธรรมล้านนา ส่วนสำนวนร้อยกรองพบ
มหาชาติล้านนาในหนังสือประมวลรายชื่อคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย ผลจากการสำรวจสำนวนมหาชาติในล้านนาหากคัดสำนวนที่ซ้ำกันออกจะได้มหาชาติถึง ๑๒๒ สำนวน และบางสำนวนก็มีครบถึง ๑๓ กัณฑ์ส่วนทำนองการเทศน์มหาชาติล้านนานั้นพบว่า แบ่งเป็น ๒ ลักษณะคือทำนองแบบดั้งเดิมและทำนองแบบประยุกต์ทั้ง ๒ ลักษณะจะเดินทำนองการเทศน์มีเทคนิคที่สำคัญคือการเคลื่อนหรือเดินทำนองโดย ใช้เทคนิค ตั้ง เทียว เหลียว วาง ยั้ง ขึ้น หว้าย ก่าย ยั้ง จะใช้วิธีการเทศน์แบบธรรมวัตรเป็นพื้นฐานและใช้ระบำเป็นท่วงทำนองของการ เทศน์ซึ่งระบำต่างๆ แต่ละระบำต้องมีความเหมาะสมกับสำเนียงภาษาแต่ละพื้นที่ในล้านนาที่มีความแตก ต่างกันไป ด้านคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนาพบว่า ผู้แต่งได้นำหลักธรรมสอดแทรกในเนื้อธรรมของมหาชาติล้านนา
โดยผสมสานเชื่อมโยงกับสภาพวิถีชิวิต จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวล้านนาได้อย่างกลมกลืนอันสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของสังคมล้านนาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอธิบายสภาพสังคมและพฤติกรรมของชาว ล้านนาโดยที่ผู้แต่งได้ขยายใจความของมหาชาติล้านนาให้มีความวิจิตรพิสดาร พรรณนาด้วยลีลาโวหารและรสทางวรรณกรรมต่างๆ คือ รสรัก รสโศก รสหรรษา รสโกรธ รสเกลียด รสกล้าหาญ รสหวาดกลัว รสตื่นเต้น รสสงบประเพณีการตั้งธรรมหลวงในปัจจุบันนี้จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งธรรมหลวงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ใช้เวลาลดน้อยลงไปกว่าเดิม การเทศน์ในแต่ละกัณฑ์นั้นเนื้อธรรมจะถูกตัดให้มีเนื้อหาที่กระชับลงจะเน้น ความไพเราะของท่วงทำนอง ส่วนท่วงทำนองก็มีความหลากหลายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาสาระรูปแบบเดิมเอาไว้ที่สำคัญรูปแบบพิธีกรรมการจัด ตกแต่งสถานที่ตั้งธรรมหลวง จะผสมผสานการจัดแบบดั้งเดิมมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย ทั้งยังได้นำเอากิจกรรมอื่นที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเข้ามาเสริมเพื่อที่จะ ดึงดูดความสนใจให้กับผู้ร่วมงานมากยิ่งขึ้นนับว่าเป็นการปรับกลวิธีให้เข้า กับยุคสมัยได้อย่างมีความเหมาะสมการเทศน์มหาชาติแบบล้านนา จึงก่อให้เกิดคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมล้านนาในการสั่งสอนคนให้รู้จัก บาปบุญคุณโทษ รู้จักการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา โดยมีพระเวสสันดรเป็นแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติเป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ทำให้สังคมล้านนามีความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านต่างๆ คือ ด้านวรรณกรรมด้านภาษา ด้านสุนทรียะ ด้านจริยธรรม ด้านพฤกษา ด้านเภสัช ด้านวัฒนธรรมและ ด้านศิลปกรรม จนผู้ฟังเทศน์มหาชาติมีอุปนิสัยจิตใจที่อ่อนโยนเกิดความเลื่อมในพระพุทธ ศาสนาและมีความยินดีในการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามพระจริยาของพระเวสสันดร
Download :  255041.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012