|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระไตรปิฎกคืออะไร
พระไตรปิฎก ก็คือคัมภีร์ที่ประมวลเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาจารึกไว้
พระไตรปิฎกจึงเป็นที่รวบรวม บรรจุไว้ หรือจารึกไว้ ซึ่งพระพุทธศาสนานั้นเอง
ในเมื่อพระพุทธศาสนาแปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระไตรปิฎกเป็นที่ประมวลไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น การรักษาพระไตรปิฎกจึงเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา
ถ้าตอบอย่างสั้นที่สุด ก็พูดได้ว่า พระไตรปิฎกกับการธำรงพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องเดียวกัน
การธำรงพระไตรปิฎกก็คือการธำรงพระพุทธศาสนา นี้เป็นความหมายอย่างง่ายที่สุด
รักษาพระไตรปิฎก เท่ากับรักษาพระพุทธเจ้า
ถ้าพูดให้ลึกลงและให้กว้างออกไป พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอีกหลายอย่าง
นอกจากมองพระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นคำสั่งสอนแล้ว พระพุทธศาสนายังหมายถึง
การเล่าเรียน การศึกษา การปฏิบัติ และการจัดการต่าง ๆ ให้มีการเล่าเรียนศึกษา
และเป็นพระพุทธศาสนาที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจ ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการธำรงพระพุทธศาสนา
ดูง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองก่อนปรินิพพาน ซึ่งเราจำกันแม่นทีเดียวว่า
เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงไป ไม่ได้ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์
ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์
พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยนี้ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเอง
พระธรรมวินัยจึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา
พระธรรมวินัยนี้ประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระธรรมวินัย
พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระบรมศาสดาของชาวพุทธ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกไว้
จึงเท่ากับดำรงรักษาพระพุทธเจ้าไว้และรักษาพระพุทธศาสนาด้วยนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
(รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้.
พระพรหมคุณาภรณ์ : ป.อ. ปยุตโต)
|
|
CD - ROM แผ่นที่
๑ Graphic&Multimedia
เรียนรู้ความหมาย
ความสำคัญ การทำสังคายนา และ การพัฒนาการของพระไตรปิฏกจากชมพูทวีปแดนพุทธภูมิสู่ศรีลังกาสุวรรณภูมิ
และประเทศไทย ผ่านสื่อมัลติมิเดียร่วมสมัย
|
|
CD - ROM แผ่นที่ ๒ ระบบสืบค้นพระไตรปิฏก
ระบบสืบค้น
โดย คำ วลี ระบบสืบค้นแบบเชื่อมโยง การเข้าถึงผ่านสารบัญ เล่ม
ข้อ หน้า และผ่านดรรชนีท้ายเล่ม พร้อมบทนำสรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎกทั้ง
45 เล่ม |
พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บน CD ROM : MCUTARI Version 1.0 |
อำนวยการผลิต โดย
สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
|
|
|
|
|
|
|
|