หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวกูล โพธิ์ทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
ผลการพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ : กรณีศึกษาการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวกูล โพธิ์ทอง ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร.ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม., Ph.D. (Pali and Buddhist Studies)
  ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Psychology )
  ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ, น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ., B.J.,Dip. in SR., กศ.ม., M.A. (Po), M.A. (Eco), M.A. (Psychology), Ph.D. (Psychology)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                 วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลการพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ  กรณีศึกษาการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี นี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง และวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ  )เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและชุดกิจกรรมตามแนววิถีพุทธที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท  )เพื่อเสนอรูปแบบ (Model) การพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ  )เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คลายทุกข์ ปล่อยวาง สว่าง ผ่องใส  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยในโครงการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ของโรงพยาบาลท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี ที่รู้สึกตัวดี  สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามแนววิถีพุทธได้ และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน ๑๐ ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งเป็น ๔ ส่วน คือข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินความรู้สึกของจิตใจ  ความเข้าใจ(ปัญญา) การรับรู้ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยข้อคำถามจำนวน ๑๒ ข้อ แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ ด้วยข้อคำถามจำนวน ๑๕ ข้อ  และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เกี่ยวกับความผาสุกทางจิตวิญญาณ และชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการค้นคว้าตำรา เอกสาร และงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตผู้ป่วยระยะสุดท้าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติอ้างอิง วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม โดยสถิติ แบบ Paired test

                 ผลการวิจัยพบว่า

                      เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนววิถีพุทธ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๑    โดยหลังจาก ๗ วันแล้ว  ด้านความรู้สึกของจิตใจ พบว่า มีการพัฒนาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่คำนวณได้คือ ๐.๐๐    ด้านความเข้าใจ(ปัญญา)  พบว่า มีการพัฒนาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่คำนวณได้คือ ๐.๐๑  และความผาสุกทางจิตวิญญาณมีการพัฒนาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่คำนวณได้คือ ๐.๐๑  ส่วนการรับรู้ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า ไม่แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ

                 ในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ร่วมกับการสังเกตสีหน้า แววตาของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่กลัวความตาย การสวดมนต์ ทำให้ผู้ที่มีสีหน้าเศร้าหมอง เป็นทุกข์ กลับมีสีหน้าสว่าง ผ่องใส  ความเป็นห่วงบุตรหลาน และรู้สึกหงุดหงิดคลายลง  การภาวนาพุทโธ ทำให้มีความสงบ  อาการปวดบรรเทาลง  จิตใจมีสมาธิมากขึ้น  การพูดคุยถึงบุญกุศลที่เคยทำ และความปรารถนาจะทำบุญกุศลตลอดไป ทำให้มีความสุข  ความตั้งใจมากในการทำบุญ  ถวายสังฆทาน  มีจิตจดจ่ออยู่กับการสวดมนต์ และการแผ่เมตตา  นำมาซึ่งความสุขใจ การระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ทำให้รู้สึกสุขกายสุขใจ แสดงถึงความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยของผู้ป่วยระยะสุดท้าย  ในโครงการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕