หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วัลลยา อุบลพงษ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยโรงเรียน มัธยมตอนต้นวัดลานบุญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วัลลยา อุบลพงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  ดร. ศุลีพร เศวตพงษ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๑.) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นวัดลานบุญ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วัดลานบุญ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยตามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วัดลานบุญ กรุงเทพมหานคร และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑,๒,๓         จำนวน ๑๖๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.- Way ANOVA) 

ผลการวิจัย
๑.) การศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นวัดลานบุญ มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ภาพรวม ๖ กิจกรรม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่าทุกกิจกรรมอยู่ระดับสูง ระดับที่สูงที่สุดคือ กิจกรรมเวทีอิสระ รองลงมาคือ กิจกรรมหน้าเสาธง และกิจกรรมที่ระดับน้อยที่สุดคือ กิจกรรมคณะกรรมการสภานักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  ๐.๐๕  
๒.) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วัดลานบุญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครจำแนกตามเพศ นักเรียนมีเพศต่างกัน มีความเห็นโดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ รายกิจกรรม นักเรียนมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีความแตกต่างกัน ๔ ด้านคือ กิจกรรมคณะกรรมการสภานักเรียน กิจกรรมห้องเรียนประชาธิปไตย กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งสู่ชุมชน ด้านกิจกรรมธนาคารความดี
๓.) ผลการศึกษาพบว่ากิจกรรมคณะกรรมการสภานักเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภานักเรียน ควรตรวจสอบร่างกายอย่างเคร่งครัดทุกครั้ง เปิดการรับฟังคำคิดเห็นทุกฝ่ายนักเรียนควรมีความเสียสระต่อประโยชน์ส่วนรวม, กิจกรรมห้องเรียนประชาธิปไตย หัวหน้าห้องควรดูแลสมาชิกภายในห้อง ควรเลือกหัวหน้าห้อง ให้นักเรียนมีความตื่นตัวในการทำกิจกรรม, กิจกรรมเวทีอิสระอยากให้มีกิจกรรมมีความสนุกเพลิดเพลินมากขึ้น อยากให้มีการเล่นดนตรีอยากให้มีกิจกรรมเวลาว่าง, กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งสู่ชุมชน อยากให้มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆให้มากขึ้น ควรมีป้ายประกาศเสียงเกี่ยวกับการรณรงค์การเลือกตั้งมากกว่านี้ ควรส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนไปให้สิทธิ์เลือกตั้ง, กิจกรรมหน้าเสาธง  อยากให้ลดกิจกรรมน้อยลงควรให้มีการออกกำลังกายทุกเช้า และกิจกรรมธนาคารความดี ควรรณรงค์ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์ทุกครั้ง

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕