หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » PhraNawLeang Tejanyana
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชน
ชื่อผู้วิจัย : PhraNawLeang Tejanyana ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  ดร.แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาเชนโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาหลักศรัทธา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักศรัทธาในศาสนาเชน (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชนโดยมีวิธีวิจัยคือศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ตีความ เปรียบเทียบ

ผลการวิจัยพบว่า“ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  หมายถึง การเชื่อมั่นในความดี เป็นการเชื่อที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญากำกับ ชักนำให้อยู่มีลักษณะของความเชื่อตามความเป็นจริง   โดยมองให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลของสิ่งต่างๆ ความเชื้อทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เน้นไม่ให้ตัดสินหรือลงความเห็นในเรื่องใด จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ด้วยการลงมือปฏิบัติจนเห็นผลที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง ความเชื่อหรือศรัทธาในพระไตรปิฎกมี ๔ ประการ คือ  (๑) กัมมสัทธา  (๒) วิปากสัทธา  (๓) กัมมัสสกตาสัทธา (๔) ตถาคตโพธิสัทธา โดยสรุปแล้วมุ่งเน้นให้เชื่อกฎแห่งธรรมชาติ  กฎแห่งการกระทำของปัจเจกบุคคล  หรือกฎแห่งเหตุผล และการเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในฐานะเป็นแบบอย่าง และเป็นกฎที่เราจะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามเพื่อความพ้นทุกข์
ส่วนศรัทธาของศาสนาเชนเชื่อว่าสัมมาศรัทธา ความเห็นชอบตามทัศนะของศาศนาเชนรวมถึงการปราศจากความสงสัยและตัณหา มีความมั่นคง มีภราดรภาพต่อบรรดาผู้รวมศรัทธาและแพร่หลักธรรมของศาสนาให้ผู้อื่นทราบ และความรู้ได้มาจากวิญญาณ เพราะคุณสมบัติของวิญญาณคือมีเจตนาความรู้สึก ซึ่งประกอบด้วยความรู้ญาณ และสัญชาตญาณทัศนะ แต่วิญญาณทางโลกถูกปิดบังเพราะอำนาจจากทำลายของ กรฺมนฺ (กรรม) กิเลส จึงเป็นวิญญาณที่ไม่ได้มีความรู้อำนาจและความร่าเริงโดยสมบูรณ์การประกอบโยคะตามหลักการในศาสนาเชนโดย การปฏิบัติวิธีหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงโมกษะ หรือการหลุดพ้น โยคะทำให้เกิดความรู้ถึงสภาพความเป็นจริงตามที่เป็นอยู่ทำให้มีศรัทธาในคำสอนขององค์ติรถังกร หรือองค์ศาสดา หยุดการประพฤติชั่วและหันมาประพฤติชอบ ซึ่งนำไปสู่การหลุดพ้นจากการร้อยรัดของ กรฺมนฺ (กรรม) กิเลส ดังนั้นการปฏิบัติโยคะจึงมีคุณค่าเท่ากับการปฏิบัติตามหลัก ติรัตนะ หรือ ไตรรัตน์ ของศาสนาเชน ซึ่งได้แก่ความเห็นชอบ ความรู้ชอบ ความประพฤติชอบ
ในการเปรียบเทียบทรรศนะของศาสนาทั้ง ๒ ผู้วิจัยพบว่ามีทั้งลักษณะที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันบางส่วนเท่านั้น  ในด้าน ความหมาย องค์ประกอบ การแบ่งประเภท ความสำคัญ มูลเหตุให้เกิดศรัทธา และเป้าหมายสูงสุด มีลักษณะที่เหมือนกันเป็นไปตามหลักศาสนาของตนๆ ในด้านความเชื่อเรื่องสิ่งสูงสุดมีลักษณะที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน คือหลุดพ้นจากกิลส แต่ต่างกันที่พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกว่านิพพาน ส่วนศาสนาเชนเรียกว่าไกวัลย์ภพ สิ่งที่ต่างอีกประการ คือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเน้นการมีศรัทธาต่อพระนิพพาน ส่วนศรัทธาในศาสนาเชนเน้นความเชื่อเรื่องการหลุดพ้น
ด้านการเชื่อคือศรัทธาญาณสัมปยุตกับการเชื่อเป็นสัมมศรัทธาจะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีสัมมาจริตคือ ความประพฤติชอบเป็นองค์ประกอบ มีความเหมือนกันอย่างมาก กล่าวคือ การเชื่อคือศรัทธาญาณสัมปยุต เป็นการเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา หรือเหตุผล มีการพิสูจน์ทดสอบด้วยปัญญาของตนให้เห็นเหตุผลชัดเจนจนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัยก่อนจึงค่อยปักใจเชื่อเป็นไปในลักษณะที่ว่าเข้าใจแล้วจึงเชื่อ ความรู้ชอบถ้าปราศจากกัมมศรัทธา และสัมมาจริตเป็นสิ่งไร้ค่า ปราศจากทำใจให้มีความบริสุทธิ์เท่านั้นสัมมจริตหรือความประพฤติชอบจะต้องปฏิบัติโดยปราศจากการบังคับ คือ เป็นการประพฤติโดยความเต็มใจ การบรรลุถึงความปรพฤติชอบมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ความเชื่อและการเชื่อเป็นสิ่งที่ช่วยเตรียมจิตมนุษย์ให้พร้อมจะแสวงหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ จึงเป็นสิ่งที่มาก่อนเหตุผลและความเข้าใจ เป็นไปในรูปแบบที่ว่าเชื่อเพื่อที่จะเข้าใจ

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕