หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จ่าสิบเอกหญิง สุภลักษณ์ วิรักษา
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : จ่าสิบเอกหญิง สุภลักษณ์ วิรักษา ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีรัตนดิลก
  พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที
  ศ.น.พ. ประสาน ต่างใจ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เปรียบเทียบให้เห็นถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของหลักการทั้งสอง
หลักปฏิจจสมุปบาทมีเนื้อความที่บ่งบอกถึงกระบวนการของธรรมชาติที่เป็นภาวะอิงอาศัยกัน เมื่อเหตุและปัจจัยในหลักปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นได้สร้างสิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นทุกข์ ความทุกข์ของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่น เพราะขาดปัญญา สาเหตุพื้นฐานคือ อวิชชา (ความไม่รู้) ดังนั้น การรู้แจ้งหลักปฏิจจสมุปบาทจะทำให้เกิดปัญญา จนทำให้เข้าถึงกระบวนการแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวลของชีวิตได้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ แสดงว่า โลกแห่งปรากฏการณ์เป็นความจริงเกี่ยวกับอนุภาคทั้งหลายที่มีอยู่เชื่อมต่อสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะกฎทุกกฎในธรรมชาติ จะเหมือนกันหมดในทุกระบบที่เคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอและสัมพัทธ์กัน ซึ่งไอน์สไตน์ได้ใช้ สมการทางคณิตศาสตร์ในการเข้าถึงธรรมชาติที่ละเอียดละออ เพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาลหลักปฏิจจสมุปบาทและทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในการกล่าวถึงปรากฎการณ์หรือภาวะที่มีการอิงอาศัยกันเกิดขึ้น สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน โดยไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งสองต่างมีสารัตถะในความเป็นธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งศึกษาธรรมชาติ โดยไม่ยอมรับทัศนะที่ว่า พระเจ้าสร้างโลก ส่วนความแตกต่างกันนั้นได้แก่ หลักปฏิจจสมุปบาท เข้าถึงความจริงทั้งด้านวัตถุและจิตใจ เป็นการแก้ปัญหาชีวิตได้ ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเป็นการเข้าถึงความจริงทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว

Download : 254826.pdf



 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕