หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พุทธชญานันท์ จันทร์โสม
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พุทธชญานันท์ จันทร์โสม ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร แสงใส
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

               สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนา

               ผลการศึกษาพบว่า การบำเพ็ญบารมี หมายถึง คุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยิ่งยวด หลักการบำเพ็ญบารมี จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้จักต้องมีความเป็นมนุษย์ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ (ชาย) ความเป็นผู้มีฉันทะ (อุตสาหะพากเพียรมาก) และบำเพ็ญพุทธการกธรรม ๑๐ คือ ทานบารมี สีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี  บารมี  หมายถึง คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง แยกออกเป็น ๓ หมวด คือ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ  และการแบ่งชั้นของบารมี ๓ ชั้น คือ บารมี เป็นชั้นต้น เช่น การเสียสละทรัพย์สิน เงินทอง อุปบารมี เป็นชั้นกลาง เช่น การให้ทานโดยยอมสละอวัยวะบางส่วนให้กับผู้อื่น และปรมัตถบารมี เป็นชั้นสูงสุด เช่น การให้ทานโดยเสียสละชีวิตของตนเองเพื่อผู้อื่น เป้าหมายของการบำเพ็ญบารมี เมื่อพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีไปตามลำดับขั้นตอนจนบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ก็จะเสด็จออกพรรพชา บำเพ็ญพรหมจรรย์ต่าง ๆ มีโพธิปักขิยธรรม เป็นต้น และก็จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีจนกระทั่งได้ตรัสรู้ธรรมเร็วหรือช้ากว่ากัน อินทรียธรรม ที่เป็นตัวนำในการตรัสรู้ธรรมมีมากน้อยแตกต่างกันกล่าวคือ ในด้าน ปัญญา ศรัทธา วิริยะ โดยมีหลักการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยสาวก ก็เพราะการสั่งสมบารมี

               พัฒนาการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท การบำเพ็ญบารมีเป็นสิ่งที่เป็นเลิศที่มีอยู่ในตัวบุคคล เช่น ความมีปัญญา ความมีลาภ มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ คุณค่าในการบำเพ็ญบารมี เป็นการสลัดออกจากกามไม่ยุ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางโลก คุณค่าในการบำเพ็ญเนกขัมมะ เป็นการออกจากกามเพื่อบวช มีความดำริไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อความตั้งมั่นเพื่อความเจริญ ที่เต็มเปี่ยมด้วยกุศลธรรม เป็นการปลีกตัวออกจากฝูงชน ออกมาประพฤติปฏิบัติตามที่ตนได้มุ่งหวังเอาไว้ เพื่อจะดำเนินชีวิตไปให้ถึง ผลจากการประพฤติ ๓ ระดับ คือ บารมีเบื้องต้น สามารถให้ความสุขและทุกข์ผสมผสานกัน  บารมีขั้นกลาง สามารถให้ความสุขมากกว่าความทุกข์ และบารมีขั้นสูงสุด เป็นฝ่ายดี จะประสบแต่สงบสุขอย่างเดียว  คุณค่าของบารมีในทางสังคม เป็นการบำเพ็ญเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม  ในปัจจุบันก็ยังนำบารมีมาใช้ในการทำบุญให้ทานทั่วไป เพื่อเน้นให้มีความหนักแน่นขึ้น เช่น คำพูดที่ว่า การทำบุญครั้งนี้เป็นการสั่งสมบุญบารมีของเรา

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕