หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสถิตนราธิการ (วิชาญ นราธิโป)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรม ของคณะสงฆ์ภาค ๑๗ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสถิตนราธิการ (วิชาญ นราธิโป) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกระบวนการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑๗ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการใช้แบบสอบถาม ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ดำเนินการอยู่โดยคณะสงฆ์ภาค ๑๗ จากกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ ๒๓๔ รูป เพื่อวิเคราะห์ให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน ในการศึกษา ค้นคว้า หาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในเรื่องนี้ให้ดียิ่งขึ้น จากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์พระสังฆาธิการ ๑๕ รูป เพื่อนำมาพัฒนาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑๗ แล้วจัดสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ รูป/คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและรับรองกระบวนการจัดการเรียนรู้ในเรื่องที่กล่าว

ผลการวิจัยพบว่า

 

1. สภาพการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยคณะสงฆ์ภาค ๑๗
ในภาพรวมมีการปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านการให้ความรู้และด้านการนำไปปฏิบัติ
มีการปฏิบัติการในระดับมากที่สุด ส่วนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

 

2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรม
ต้องพัฒนา ๓ ด้าน คือ ๑) การใช้หลักทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) มาอธิบายส่งเสริมสนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่กล่าวถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี   ในตัว ๒) การจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในเชิงปฏิบัติ โดยวางแผนการดำเนินการสนับสนุนด้วยการสร้างแรงจูงให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เตรียมการจัดหาแหล่งการเรียนรู้ให้ท้องถิ่น การสร้างองค์ความรู้ในชุมชน สร้างตัวอย่างการนำความรู้ไปใช้จริง และมีการทบทวนความรู้ ๓) การเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ต้องตระหนักรู้ในความหลากหลายวัฒนธรรมที่แตกต่าง ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และความสำคัญของวัฒนธรรมแต่ละกลุ่ม การจัดการเรียนรู้ท่ามกลางความแตกต่าง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม การยอมรับซึ่งกันและกัน

 

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมพหุวัฒนธรรม
ของคณะสงฆ์ภาค ๑๗ ได้รับการรับรองจากการสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง มีการดำเนินการได้ดังนี้ ๑) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การให้ความรู้
ตามหลักพุทธธรรม คือ อริยมรรค ๘ เป็นหลักทางสายกลางที่มีความสำคัญกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) การนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง ๓) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ๔) ความสัมพันธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่สมดุลยั่งยืนและเป็นประโยชน์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้านจิตใจ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านบุคคลและครอบครัว ด้านชุมชน ด้านภาคธุรกิจ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕