หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวณัฐมา ขันติธรรมกุล
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
การศึกษาความรักในพระพุทธศาสนา (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฐมา ขันติธรรมกุล ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ.ดร.
  อาจารย์รังษี สุทนต์
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาความรักในพระพุทธศาสนา  โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  (๑) เพื่อศึกษาเรื่องความรักในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมเกี่ยวกับความรักในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ (๓) เพื่อประยุกต์หลักธรรมเกี่ยวกับความรักมาพัฒนาความรักในสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา

ผลการวิจัยพบว่าความรักในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้  แต่มนุษย์สามารถรับรู้ถึงความรักได้ด้วยโดยออกมาในรูปของความคิด  ความพอใจ  ความซาบซึ้งใจ ฯลฯ  ความรักในทางพระพุทธศาสนามีพื้นฐานมาจากโลภะ  อันประกอบด้วยตัณหา ๓  คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา  และสามารถแบ่งความรักได้เป็น ๓ ระดับคือ ๑.รักตนเอง ๒.รักผู้อื่น ๓.รักแบบเมตตา

สำหรับหลักธรรมที่เกี่ยวกับความรักในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีอยู่หลายหลักธรรม  หลักธรรมที่เหมาะกับความรักในตนเอง  ได้แก่ศีล ๕  ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ใช้กับบุคคล และเหมาะกับการงานทั่วๆ ไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคลนั้นๆ   (๒)หลักธรรมที่เหมาะกับความรักผู้อื่น  ได้แก่ทิศ ๖ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น  มารดาบิดา  บุตร  ภรรยา เป็นต้น  (๓)หลักธรรมที่นำ  “เมตตา” ไปสู่เมตตาอัปปมัญญา ได้แก่  พรหมวิหาร 

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕