หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองมา อรุณรํสี (แสงอรุณ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองมา อรุณรํสี (แสงอรุณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.วศิน กาญจนวณิชย์กุล
  ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ.,ดร.
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสำนัก อัตถิภาวนิยม โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดอันเป็นรากฐานทางปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม ๒)เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม และ๓) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม จากการศึกษาวิจัย สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้คือ

                  . เพื่อศึกษาแนวคิดอันเป็นรากฐานทางปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม สรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม นั้นมีแนวคิดที่มีรากฐานมาอย่างยาวนานในการกล่าวถึงการให้สิทธิเสรีภาพ เจตจำนง (Free will) ความรับผิดชอบ ของปัจเจกชน แต่มิได้ปรากฏให้เห็นลักษณะที่ชัดเจนทางด้านปรัชญาการศึกษา ปรัชญาของสำนักอัตถิภาวนิยมเบื้องต้น เป็นขบวนการของนักปรัชญาที่ต้องการเสนอให้เห็นถึงสารัตถะ เจตคติ ความรับผิดชอบของมนุษย์ที่สามารถกำหนดเจตจำนงเสรีของตนได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสังคม ความเชื่อทางสังคมอันเป็นบรรทัดฐานที่มิได้ให้มนุษย์มีจิตอิสระในการตัดสินใจเลือกเจตจำนงด้วยตนเอง 

                  ๒. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม สรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม  เกิดขึ้นจากการได้เห็นถึงผลเสีย และข้อจำกัดของการจัดการศึกษาของปรัชญาการศึกษาสำนักสารัตถนิยม (Essentialism) และนิรันตรวาท (Perennialism)  ที่ให้ความสำคัญกับวิชาทางด้านศีลธรรม  การปลูกฝังศีลธรรมโดยไม่คำนึงถึงเสรีภาพ ความสนใจ และความมีอิสรภาพในการตัดสินใจเลือกของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความต้องการ และมีความสนใจในอะไร ส่วนปรัชญาการศึกษาสำนักพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) แม้จะให้ความสำคัญกับความสนใจของผู้เรียน ความถนัดหรือความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละคน แต่ก็ยังมุ่งเพื่อการตอบสนองสังคม รับใช้สังคมโดยให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้ถึงความเป็นมนุษย์ที่มีเจตจำนง ความรับผิดชอบด้วยตนเอง ด้วยการตระหนักรับผิดชอบ มิใช่การบ่มเพาะ หรือการปลูกฝังแต่อย่างใด

                  ๓. เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม สรุปได้ว่าปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม  สะท้อนให้เห็นถึง จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ตระหนักรู้ถึงเจตจำนง ความเป็นมนุษย์ที่มีเจตจำนงในการตัดสินใจเลือกด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม พร้อมกับการตระหนักรับผิดชอบในการตัดสินใจด้วยตนเอง  สถานที่เรียน ผู้สอนหรือวิชาการอื่นใด เป็นเบื้องต้นในการเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้เรียนได้เกิดแรงบันดาลใจในการตัดสินใจว่าตัวของเขาจะเป็นอย่างไร ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม จึงเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนมากกว่าการชี้นำหรือการปลูกฝัง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความมีอยู่ของเจตจำนงด้วยตัวเองแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกฝน พัฒนาตนในสิ่งที่เขามุ่งหวัง ในสิ่งนั้นอย่างเต็มกำลังความรู้ และความสามารถ กลับกลายเป็นการศึกษาที่ยาวนาน และติดตามตัวเขาตลอดชีวิต

ดังนั้นจากการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสำนักอัตถิภาวนิยม ทำให้ทราบว่าการศึกษานั้นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ จึงเป็นการศึกษาที่ติดตามผู้เรียนตลอดไป และในขณะเดียวกันการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดจิตสำนึกในเสรีภาพของตนกับความรับผิดชอบจึงเป็นสิ่งที่การศึกษาต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นไปด้วยกัน

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕