หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางยุวเรศ พลชา
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
ศึกษาหลักปฏิปทา ๔ กับอินทรีย์ ๕ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางยุวเรศ พลชา ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
  ผศ.ดร.สมิทธิพลเนตรนิมิตร
  ว่าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาหลักปฏิปทา ๔ กับอินทรีย์ ๕ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาหลักปฏิปทา ๔ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท             เพื่อศึกษาการปรับอินทรีย์ ๕ ให้สมดุลในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาหลักปฏิปทา ๔ กับอินทรีย์ ๕ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 

จากการวิจัยพบว่า ความหมายของ ปฏิปทา ๔  ทั้งความหมายตามรูปศัพท์                 ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์รุ่นต่อมา รวมถึงจากทรรศนะของนักวิชาการในยุคปัจจุบันต่างก็ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน คือ การปฏิบัติ เป็นการจำแนกความแตกต่างแห่งการปฏิบัติ             ๔ ประการ เรียกว่า ปฏิปทา ๔ เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า  การปฏิบัติกรรมฐาน  และพบว่าในปฏิปทา ๔  แสดงถึงการปฏิบัติกรรมฐานของบุคคลผู้ปฏิบัติจำแนกตามสติปัญญา แบ่งเป็น ๓ จำพวก ที่สามารถบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่  (๑) ทุกขาปฏิปทา  ทันธาภิญญา คือปฏิบัติลำบาก บรรลุได้ช้า  เป็นการปฏิบัติของบุคคลประเภท เนยยะ  (๒) ทุกขาปฏิปทา  ขิปปาภิญญา  คือปฏิบัติลำบาก บรรลุได้เร็ว เป็นการปฏิบัติของบุคคลประเภทวิปจิตัญญู  (๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา  คือปฏิบัติสะดวก แต่บรรลุได้ช้า เป็นการปฏิบัติของบุคคลประเภทวิปจิตัญญู (๔) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา คือปฏิบัติสะดวก ทั้งบรรลุได้เร็ว เป็นการปฏิบัติของบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู

ความหมายของอินทรีย์  คือ ธรรมที่มีความเป็นใหญ่ มีความเป็นใหญ่ในหน้าที่ตน มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ ความหมายในพระไตรปิฎกและคัมภีร์รุ่นต่อมา ตลอดจนความหมายในเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความหมายที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน มีการจำแนกอินทรีย์ ออกเป็น ๕ ประการ คือ  (๑) สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือศรัทธา (๒) วิริยินทรีย์  อินทรีย์คือวิริยะ  (๓) สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ  (๔) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ  (๕) ปัญญินทรีย์  อินทรีย์คือปัญญา อินทรีย์ทั้ง ๕ มีความสำคัญในการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องมีการปรับอินทรีย์ทั้ง ๕ให้สมดุล คือ  เป็นการปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ ๆ  กล่าวคือ  ปรับศรัทธาให้เสมอกับปัญญา  และปรับปัญญาให้เสมอกับศรัทธา  ปรับวิริยะให้เสมอกับสมาธิ  และปรับสมาธิให้เสมอกับวิริยะ  ส่วนสตินั้นยิ่งมีมากก็ยิ่งดี เป็นตัวกลางประสานได้ทุกธรรม  เมื่อมีการฝึกฝนอบรมบ่มอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้สมดุลสม่ำเสมอจะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์

สำหรับหลักปฏิปทา ๔ กับอินทรีย์ ๕ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท   จากการศึกษาพบว่า ในการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในแต่ละปฏิปทานั้นมีความเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ ๕ โดยการที่เป็นทันธาภิญญา หรือขิปปาภิญญานั้น ขึ้นอยู่ความสมบูรณ์และได้สมดุลของอินทรีย์ ๕ กล่าวคือ การที่มีอินทรีย์ที่แก่กล้าจะทำให้บรรลุได้เร็ว ส่วนผู้มีอินทรีย์อ่อนนั้นจะบรรลุได้ช้า  และพบว่า บุคคลในแต่ละปฏิปทาเมื่อมีการจัดการอินทรีย์ให้เหมาะสม ก็จะสามารถพบกับความบริบูรณ์และสมดุลแห่งอินทรีย์ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติ แม้การปฏิบัติจะแตกต่างกันแต่จุดหมายปลายทางที่เหมือนกันคือ  พระนิพพาน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕