หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูเกษมศีลาภรณ์ (บัญญัติ แน่นกระโทก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๔ ครั้ง
การศึกษาวันธรรมสวนะในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูเกษมศีลาภรณ์ (บัญญัติ แน่นกระโทก) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์ ป.ธ. ๙, Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ คงสัตย์ ป.ธ. ๔,พธ.บ.,M.A, ปร.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                        (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาวันธรรมสวนะในพระพุทธศาสนาเถรวาท 

                        (๒)                เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติวันธรรมสวนะในพระพุทธศาสนาเถรวาท  และ

                        (๓) เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติวันธรรมสวนะของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า

                         ความเป็นมาวันธรรมสวนะในพระพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า ในสมัยพุทธกาล    พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่  เขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ  พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนา  แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรม และแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ได้กำหนดวันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) วันแรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาดถือเอาวัน แรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวันฟังธรรมในสมัยพุทธกาล

                       หลักปฏิบัติวันธรรมสวนะในพระพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญ คือ (๑) การทำวัตรสวดมนต์  พระสงฆ์จะทำวัตรสวดมนต์ อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ (๒) การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานเบญจศีล  (ศีล ๕) ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ มี ๘ ข้อและ  (๓) การฟังธรรม เพื่อบำเพ็ญจิตภาวนา และปฏิบัติไปเพื่อต้องการบรรลุหลักธรรมขั้นสูง  

                  ข้อปฏิบัติวันธรรมสวนะของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า  เมื่อวันธรรมสวนะมาถึงพุทธศาสนิกชนไทยปัจจุบันส่วนหนึ่งจึงออกไปทำบุญที่วัด และอีกส่วนหนึ่งก็ทำการสวดมนต์ ไหว้พระที่บ้าน  หรือแม้แต่พระสงฆ์  และสามเณรในวัดก็ได้ทำกิจกรรมเช่นเดียวกัน  หากพิจารณาข้อปฏิบัติวันธรรมสวนะของสังคมไทยปัจจุบัน คือ ช่วงเช้าทำบุญ ตักบาตร รับศีล  ฟังเทศนาธรรม  และรวมถึงการรักษาศีลอุโบสถ  สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธา และความเชื่อที่มีต่อวันธรรมสวนะ สังคมไทยจึงได้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน  และถือว่าเป็นวันที่สำคัญที่จะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด  ประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และในปัจจุบันก็ได้ปฏิบัติ  เพื่อดำรงรักษาไว้พระพุทธศาสนาให้มั่งคงสืบต่อไป

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕