หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระดนัย ธมฺมาราโม (แก้วโต)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๖ ครั้ง
การศึกษาความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท :กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : พระดนัย ธมฺมาราโม (แก้วโต) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทองศรี เอกวํโส, ดร. น.ธ.เอก, ปธ.๓., พธ.บ. (รัฐศาสตร์),M.A. (Psy.), Ph.D.(Psy.)
  ผศ.ดร. ประยูร สุยะใจ น.ธ.เอก, ปธ.๓., พธ.บ.(จิตวิทยา), B.J., กศ.ม., M.A. (Pol.), M.A. (Eco.), M.A. (Clinical Psy.), Ph.D. (Psy.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      การศึกษาความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษา 

                      ๑)  ระดับการปฏิสัมพันธ์และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์   และปฏิจจสมุปบาท  ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

                      ๒)  เปรียบเทียบระดับการปฏิสัมพันธ์  และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธ-

ศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕  และปฏิจจสมุปบาท  ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย  จำแนกตามข้อมูลทั่วไป 

                      ๓)  ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิสัมพันธ์  กับระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์   และปฏิจจสมุปบาท  ของนิสิตมหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

                      ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นิสิตระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย ส่วนกลาง  ชั้นปีที่    จำนวน  ๑๘๗  รูป  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสอบ

ถามความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ในบริบทของขันธ์   และปฏิจจสมุปบาท : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน  ได้แก่  การทดสอบค่าที  Independent  Samples  t-test  การทดสอบ  ค่าเอฟ  F-test  (One-way ANOVA)  การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี  Fisher’  Least-Significant  (LSD)     และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  (The  Pearson  Product  Moment  Correlation  Coefficient)

                       ผลการวิจัยพบว่า

๑.       ด้านข้อมูลทั่วไป 

                       พบว่า  นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ส่วนกลาง   ชั้นปีที่    ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุคิดเป็นร้อยละ  ๘๘.๘  ส่วนใหญ่มี   อายุ  ๒๐  ปี  ถึง  ๓๐  ปี  ส่วนใหญ่มีจำนวนปี บรรพชา/อุปสมบท   ปี  ถึง   ปี  ส่วนใหญ่มี  ผลการศึกษา (เกรดเฉลี่ย)  อยู่ในช่วง  ๒.๕๐  ถึง  ๓.๐๐  ส่วนใหญ่เรียนรู้ธรรมจากเอกสารธรรมะ  คิดเป็นร้อยละ  ๘๑.๓    และพระไตรปิฎก  คิดเป็นร้อยละ  ๖๒.๖  ส่วนใหญ่มีประสบการณ์  การปฏิบัติธรรม  ด้วยการเข้าร่วมปฏิบัติธรรมในโอกาสต่าง ๆ  คิดเป็นร้อยละ  ๗๗.๕

                       ๒.  ระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา

                       ระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์ ๕  และปฏิจจสมุปบาท ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย  มีระดับการปฏิสัมพันธ์  โดยภาพรวม  ในระดับมาก  (  = ๓.๖๙)  และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา  ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ในบริบทของขันธ์   และปฏิจจสมุปบาทโดยรวม  ในระดับปานกลาง  (  = ๖๓.๘๗)

๓.      ความแตกต่างในระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา

                       ไม่พบความแตกต่างของระดับการปฏิสัมพันธ์  และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ในบริบทของขันธ์    และปฏิจจสมุปบาท ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามข้อมูลทั่วไปได้แก่  สถานภาพ  อายุ   จำนวนปี (บรรพชา/อุปสมบท)  และผลการศึกษา  ขณะที่พบความแตกต่างในระดับการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามคณะที่สังกัด และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ในบริบทของขันธ์ ๕  และปฏิจจสมุปบาท  จำแนกตามคณะที่สังกัด  ไม่แตกต่างกัน    

                       ๔.  ความสัมพันธ์ในระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา

                       ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์  พบว่า  ระดับการปฏิสัมพันธ์ (x) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ  ระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์   และปฏิจจสมุปบาท (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  ๐.๐๕

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕