หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
การศึกษาพระพุทธศาสนา
 
 

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒


การศึกษาพระพุทธศาสนาหลังพุทธกาล

ระบบการศึกษาพระพุทธศาสนายุคแรก เป็นการศึกษาเฉพาะภายในวัดระหว่างครูกับศิษย์ เน้นพระธรรมวินัยเป็นหลัก หลังพุทธปรินิพพาน มีความคิดเห็นแตกแยกมากขึ้นในหมู่ภิกษุด้วยกันเอง รวมกับความขัดแย้งทางแนวคิดกับลัทธิร่วมสมัยอื่น ทำให้วัด(วิหาร)พัฒนาเป็นสถานศึกษาวิชาการในวงกว้างมากขึ้น เพื่อตอบสนองความสนใจใคร่ศึกษาของคนภายนอกวัด และเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ของพระภิกษุสงฆ์เอง ประมาณ พ.ศ. ๔๐๐ ได้มีการเขียนตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนามาก สมณะชาวจีนบันทึกไว้ว่า๑๐

มหาวิทยาลัยต่างๆ มิได้เปิดรับเฉพาะ ภิกษุในนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ผู้สนใจในพระพุทธศาสนาก็อาจเข้าเรียนได้ ยิ่งกว่านั้น นักบวช ในศาสนาอื่นก็อาจเรียนได้เช่นเดียวกัน แต่การศึกษาแยกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ภิกษุฝ่ายหนึ่ง คฤหัสถ์และคนนอกฝ่ายหนึ่ง ...
รัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นยุคที่การศึกษาเชิงคันถธุระเจริญมาก* เห็น ได้จากการที่มีกลุ่มความคิดเกิดขึ้นมาก ปรากฏชื่อในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ๑๑ กลุ่ม คือ๑๑ (๑) สัสสตวาที-เห็นว่าโลกเที่ยง (๒) เอกัจจสัสสตวาที-เห็นว่าเที่ยงบางอย่าง (๓) อันตานันติกะ-เห็นว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด (๔) อมราวิกเขปิกะ-เห็นไม่แน่นอน (๕) อธิจจสมุปบัน-เห็นว่าไม่มีเหตุปัจจัย (๖) สัญญีวาที-เห็นว่าอัตตามีสัญญา (๗) อสัญญีวาที-เห็นว่าอัตตาไม่มีสัญญา (๘) เนวสัญญี นาสัญญีวาที-เห็นว่าอัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๙) อุจเฉทวาที-เห็นว่าโลกขาดสูญ (๑๐) ทิฏฐธรรมนิพพานวาที-เห็นว่านิพพานมีในปัจจุบัน (๑๑) วิภัชชวาที-เห็นแยกประเด็น
กลุ่มความคิดเหล่านี้ไม่ใช่มาจากบุคคลนอกพระพุทธศาสนาทั้งหมด บางกลุ่มเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานี่เอง แต่แสดงความเห็นหลากหลายแตกต่างกันเพราะผลจากการศึกษาเชิงคันถธุระ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริยัติล้วน
รัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ.๖๔๓ โดยประมาณ) ซึ่งครองอำนาจอยู่ในอินเดียภาคเหนือ ได้มีการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท(สรวาสติวาทิน,หรือไวภาษิกะ) ณ เมืองชาลันธร(หรือกาษมีระ) สมณะ เฮี่ยนจั๋ง บันทึกไว้ว่า๑๒
พระเจ้ากนิษกะหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและตำรับตำราแห่งศาสนานี้ จึง อาราธนาภิกษุหนึ่งรูปให้สอนทุกๆ วัน และเนื่องจากภิกษุแต่ละรูปที่ไปสอนก็สอนต่างๆ กันออกไป บางครั้งถึงกับขัดกัน... พระเจ้ากนิษกะลังเลสงสัย จึงปรึกษากับพระปารัศวะ และพระเถระแนะนำให้จัดพิธีสังคายนา...

วิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุแห่งสังคายนา ครั้งนี้คือการศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการนั่นเอง แม้จุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาจะเป็นเรื่องความหลุดพ้นจากกิเลส แต่ในระดับวิถีชีวิตทั่วไป การศึกษาพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์พระพุทธศาสนา อื่นๆ ยังมีความจำเป็น ยิ่งมีความเชื่อมั่นในจุดหมายสูงสุดมากเท่าใด บุคคลยิ่งจะศึกษาปริยัติให้มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากประสงค์จะรู้ให้ชัดว่า ภาวะสูงสุดอย่างที่ว่านี้เป็นอย่างไร เพราะจุดเริ่มต้นของการศึกษาคือความเชื่อมั่นในหลักแห่งเหตุผล และมีแรงใจจูงใจใฝ่ต่อสัจธรรมและวิธีการที่จะเข้าถึงสัจธรรมนั้น๑๓ เชิงอรรถ
กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕