ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฯ l ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ l ความเป็นมาของพระไตรปิฎก CD-ROM  
หน้าหลัก


อนุทิน การแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


พระมหาสมจินต์ สัมมาปัญโญ
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๓๓ - พ.ศ. ๒๕๓๖ l พ.ศ. ๒๕๓๗ l พ.ศ. ๒๕๓๘ - พ.ศ. ๒๕๔๒

๘ มิถุนายน ๒๕๓๓
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีคำสั่งที่ ๒๕/๒๕๓๓ ลงนามโดย พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) แต่งตั้งคณะกรรมการวาง
นโยบายการแปลพระไตรปิฎก มีพระเทพเวที(ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นที่ปรึกษา พระเมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น เป็น
ประธานกรรมการ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และวางแผนในขณะนั้น เป็นรองประธานกรรมการ และ ร.ท. บรรจบ บรรณรุจิ
เป็นกรรมการและเลขานุการ

๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๓

    พระเมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส) มีบันทึกถึงอธิการบดี ส่งแนวการแปล พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ซึ่งกำหนดไว้ ๕ ข้อ


๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๕
    สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๓๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๕ พระมหาสมชัย กุสลจิตโต (ปัจจุบันคือพระศรีปริยัติโมลี) ผู้ช่วยอธิการบดี
ฝ่ายวิชาการในขณะนั้น ได้เสนอโครงการสมโภชพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหา จุฬาเตปิฏก ที่ประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นว่า มหาวิทยาลัยควรจัดทำโครงการแปลและจัด พิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ

๒ กรกฎาคม ๒๕๓๕
    มหาวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๙๔ ลงนามโดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี ถึงนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ขอความ
อุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ โดยจัด ทำโครงการแปล และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัยเสนอแนบไปด้วย รวมเป็นเงินทั้ง ๓๓,๑๑๑,๖๖๐ บาท

๑๒ กันยายน ๒๕๓๕
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นประธานงาน สมโภชพระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ครั้นเสร็จการพิธีพระราชทานของที่ระลึกแล้ว พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย นำเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่อาคารมหาวิทยาลัย เพื่อทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ ขณะเข้าไปชมห้องทำงานตรวจชำระพระ ไตรปิฎกและอรรถกถา ทรงสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงาน พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเกี่ยว กับโครงการจัดแปลพระไตรปิฎกให้ง่ายแก่ประชาชนทั่วไปและเยาวชน สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “เป็นการดี เหมาะสมแล้ว แต่อย่าได้ทิ้งของเก่า หรือให้รักษาแบบอย่างเอาไว้ เมื่อมีบทนำเรื่อง ในแต่ละเล่ม ก็ควรให้มีอรรรถาธิบายเป็นทำนองเชิงอรรถไว้ด้วย จะได้ทราบที่มา และผู้ประสงค์ศึกษาโดยพิสดารอาจสืบค้นที่มาในตัวพระไตรปิฎกและอรรถกถา- ฎีกาได้”

๑๔ มกราคม ๒๕๓๖
    คณะผู้ดำเนินงานเบื้องต้น มีพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็น ประธานที่ประชุม ได้ประชุมพิจารณาโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ซึ่ง
สภามหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว คณะผู้ดำเนินงานได้ตั้งชื่อโครงการว่า “โครงการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”
กรรมการโครงการนี้ ประกอบด้วย
      ๑. กรรมการที่ปรึกษา
      ๒. กรรมการบริหาร
      ๓. กรรมการแปล
      ๔. กรรมการตรวจสำนวน
    คณะกรรมการบริหารโครงการ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะประมวลงาน เสนองาน ติดตามงาน และประสานกรรมการแต่ละฝ่าย โดยที่ประชุมเสนอรายชื่อ
กรรมการบริหารโครงการ ดังนี้
      ๑. พระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปฺโ) เป็นประธานบริหารโครงการ
      ๒. พระมหาชนะ เขมจิตฺโต เป็นรองประธานบริหารโครงการ
      ๓. พระมหาสถิตย์ ถาวโร เป็นนักวิชาการ
      ๔. นายแสวง อุดมศรี เป็นเลขานุการ

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖
    มหาวิทยาลัยมีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๕๔๐ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย ถึงสำนักราชเลขาธิการ แจ้งความ
ประสงค์ขอเจริญพระราชศรัทธา ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงเป็นประธานโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา

๒๓ มีนาคม ๒๕๓๖
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๖๗/๒๕๓๖ แต่งตั้ง คณะกรรมการโครงการพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ ประกอบด้วยกรรมการ
๒ คณะ คือ
      (๑) คณะกรรมการอำนวยการ ๒๐ รูป/คน มีพระอมรเมธาจารย์ เป็นประธาน พระเมธีธรรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นรองประธาน พระศรีสุทธิพงศ์
(อาทร อินฺทปฺโ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
      (๒) คณะกรรมการบริหาร ๘ รูป/คน มีพระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปฺโ) เป็นประธาน นายแสวง อุดมศรี เป็นกรรมการและเลขานุการ

๗ เมษายน ๒๕๓๖
    สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ รล ๐๐๐๗/๑๐๗๖ ลงนามโดยท่านผู้หญิง มนัสนิตย์ วณิกกุล แจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกภาษาไทย

๒๑ เมษายน ๒๕๓๖
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ ๐๐๑/๕๙๖ ลงนามโดย พระอมร- เมธาจารย์(นคร เขมปาลี) ถึงพระสุเมธาธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขออนุญาตใช้ตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุ เป็นสถานที่ทำการแปลพระไตรปิฎกเป็น ภาษาไทย และตรวจชำระคัมภีร์พุทธศาสตร์

๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖
    พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์
ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์ พุทธศาสน์ ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ และได้แจ้งที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ ๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาแนวการ แปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
      ๑. แปลโดยอรรถ ด้วยสำนวนภาษาไทยที่เห็นว่าจะเป็นที่เข้าใจง่ายที่สุดเท่า ที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ หรือสามารถใช้ศึกษาพุทธธรรม
ด้วยตนเองได้ ให้ได้ความตรงกับความหมายและสาระสำคัญ ตามพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณณาชวิทยาลัย ไม่ผิดเพี้ยนทั้งอรรถและพยัญชนะ
      ๒. เพื่อให้การแปลได้เป็นไปตามหลักการข้อ ๑ เมื่อจะแปลเรื่องใดหรือสูตร ใดให้อ่านและศึกษาเรื่องนั้นให้ทั่วถึงให้เข้าใจแจ่มแจ้งทั้งอรรถและพยัญชนะโดย
ตีความคำศัพท์ทั้งโดยอรรถ และพยัญชนะตลอดถึงวิเคราะห์ดูความมุ่งหมาย ในการ แสดงเรื่องหรือสูตรนั้น ๆ โดยทั่วถึงแล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย
      ๓. ในการตีความดังกล่าวในข้อ ๒ ให้ตรวจสอบกับคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ของพระไตรปิฎกเล่มและตอนนั้น ๆ ตลอดถึงคัมภีร์ศัพทศาสตร์และ ปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงและให้เทียบเคียงกับสำนวนพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษา อังกฤษด้วย
      ๔. คำศัพท์ที่เป็นหัวข้อธรรม เช่น อิทธิบาท ๔ หรือข้อธรรมย่อยอันเป็น รายละเอียดของหัวข้อธรรม เช่น ฉันทะ วิริยะ เป็นต้น ให้แปลทับศัพท์ไว้ แล้วเขียน
คำแปลถอดความกัน ไปไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก เช่น อิทธิบาท ๔ (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย)
      ๕. ถ้าศัพท์ใดที่เป็นชื่อข้อธรรม หรือชื่อหัวข้อธรรมย่อยดังกล่าวแล้ว ในข้อ ๔ ปรากฏซ้ำซ้อนกันในเรื่องเดียวกันหรือสูตรเดียวกัน ให้แปลทับศัพท์ควบคู่
กับแปลถอดความในวงเล็บเล็ก เฉพาะคำที่ปรากฏครั้งแรกเท่านั้น คำต่อมาให้แปล ทับศัพท์อย่างเดียว
      ๖. ให้รักษาเอกภาพการแปลไว้ อย่าให้มีความลักลั่นในการแปล กล่าวคือ เมื่อคำศัพท์อย่างเดียวกันมีปรากฏในที่หลายแห่งหรือหลายสูตร ถ้ามีความหมาย
อย่างเดียวกันให้แปลตรงกันหรือเมื่อข้อธรรมอย่างเดียวกันมีปรากฏในหลายที่ หลายแห่งถ้ามีนัยอย่างเดียวกันให้แปลให้ตรงกัน เช่น ข้อความจากพระวินัยปิฎก
บ้าง หรือพระสุตตันตปิฎกบ้าง ที่นำมากล่าวอ้างอิงไว้ในพระอภิธรรม ให้แปลตรง กันทั้งสองปิฎก พร้อมทั้งทำเชิงอรรถบอกที่มาของข้อความหรือของสูตรนั้น ๆ ด้วย
      ๗. ที่ใดมีข้อควรรู้เป็นพิเศษ หรือเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย ให้ทำเชิงอรรถ แสดงความเห็นหรือเหตุผลในการวินิจฉัยไว้ด้วย เช่น พระบาลีที่กล่าวถึงพุทธธรรม
โดยบอกเพียงจำนวนไม่ให้รายละเอียดไว้ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ เป็นต้น หรือมิได้บอกจำนวนและรายละเอียดไว้ ให้ทำเชิงอรรถที่บอกที่มาของรายละเอียด นั้นด้วย เมื่อพบว่ามีจำนวนและรายละเอียด อนึ่ง ที่ใดมีคำศัพท์ที่แปลยาก อาจแปลได้หลายนัยหรือพบว่ามีมติในการตี
ความไว้หลายอย่าง เมื่อตัดสินแปลคำนั้นอย่างใดแล้ว ให้ทำเชิงอรรถแสดงมติและ เหตุผลในการแปลนั้นไว้ด้วย
      ๘. ในการแปล ให้ลงเลขวรรค เลขสูตร เลขข้อ และเลขเรื่อง ให้ตรงกับพระ ไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย
      ๙. ให้มีคำนำ หรือคำปรารภ สารบัญเรื่อง และคัมภีร์ต่าง ๆ ทำนองเดียว กับพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีคณะ
บรรณาธิการคณะหนึ่งทำหน้าที่เขียนคำนำหรือคำปรารภ บทนำ อภิธานศัพท์ และเชิงอรรถ

๖ สิงหาคม ๒๕๓๖
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๖๙๑ ลงนามโดย พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) นัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการชำระ
พระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ เพื่อพิจารณาแก้ไขอนุมัติแนวการแปล พระไตรปิฎกที่คณะกรรมการได้จัดทำเป็นร่างไว้


พ.ศ. ๒๕๓๓ - พ.ศ. ๒๕๓๖ l พ.ศ. ๒๕๓๗ l พ.ศ. ๒๕๓๘ - พ.ศ. ๒๕๔๒

top