ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระองค์ไม่ทรงแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดเป็นศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์นอกจากประทานแนวทางไว้ว่า
โดยที่เราล่วงลับไป ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้วจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย
ชาวพุทธจึงถือเอาพระธรรมวินัยเป็นเสมือนตัวแทนพระศาสดา
แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้สมัยยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้นไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นไปได้ที่พระธรรมวินัยบางส่วนจะสูญหายไปภายหลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้าถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ดี
มาตรการในการเก็บรักษาพระธรรมวินัยเรียกว่า
การสังคายนา หมายถึง การประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระะรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จนสรุปเป็นมติที่ประชุมว่า
พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้แล้ว ก็มีการท่องจำถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมาการสังคายนาพระะรรมวินัยมีขึ้นหบายครังและการนับครั้งของการสังคายนาก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
การสังคายนาที่ทึกฝ่ายยอมรับตรงกันได้แก่การสังคายนา ๓ ครั้งแรกในประเทศอินเดียการสังคายนาครั้งที่หนึ่ง
จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน
มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ องค์ พระมหากัสสปะเถระเป็นประะานและเป็นผู้สอบถาม
พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับธรรมคำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า
เอวัมเม สุตัง แปลว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ในการสังคายนาครั้งที่สอง ซึ่งจัดขึ้นใน พ.ศ. ๑๐๐ ยังไม่มีการแบ่งพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน
การจัดประเภทพระธรรมวินัยเป็นรูปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนา ครั้งที่
๓ ใน พ.ศ. ๒๓๕ จัดขึ้น ณ กรุงปาฏลีบุร ประเทศอินเดีย ไตรปิฎก
แปลว่า สามคัมภีร์ หมายความว่า พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้นั้นแบ่งออกเป็น
๓ ปิฎกหรือคัมภีร์ นั่นคือ วินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ
ภิกษุณี สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป ตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบ
อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ เน้นหนักในเรื่องจิตวิทยา
และอภิปรัชญา
ในสมัยนั้นยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร
การเก็บบันทึกพระไตรปิฎกต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องมือสำคัญ อาจารย์ท่องจำพระไตรปิฎกแล้วบอกปากเปล่าแก่ศิษย์ซึ่งจะต้องรับภาระท่องจำกันต่อๆ
ไป และเมื่อท่องจำได้ก็มาสวดซักซ้อมพร้อมกัน ทำให้เกิดประเพณีสวดมนต์
การท่องจำและการบอกเล่าต่อๆ กันมาเช่นนี้ เรียกว่า การศึกษาระบบ มุขปาฐะ
หมายถึง การเรียนโดยอาศัยคำบอกเล่าจากปากของอาจารย์
พระไตรปิฎกถูกเก็บรักษาและถ่ายทอดต่อๆ กันมาด้วยระบบการศึกษาแบบมุขปาฐะนี้จนกระทั่งได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลานในการสังคายนาครั้งที่
๔ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศลังกาใน พ.ศ. ๔๕๐
ภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า
ภาษาบาลี บาลีแปลว่า ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ สันนิษฐานว่าบาลีเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในแคว้นมคธในครั้งพุทธกาล
เมื่อมีการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานเป็นครั้งแรก ท่านใช้อักษรสิงหลเขียนภาษาบาลีของพระไตรปิฎกประเทศอื่นๆ
ก็ได้จารึกภาษาบาลีลงในใบลานโดยใช้อัการของประเทศนั้น ในปัจจุบันเมื่อการพิมพ์หนังสือเจริญขึ้น
พระไตรปิฎกถูกจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือทำให้มีพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ
เช่นฉบับอักษรสิงหลของลังกา แบบอักษรเทวนาครีของอินเดีย ฉบับอักษรของฉบับอักษรพม่า
ฉบับอักษรไทย และแบบอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ที่อังกฤษ
เมื่อพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้รับการเผยแพร่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย
พระไตรปิฎกสมัยนั้นยังไม่ถูกจารึกเป็นอักษรไทย ดังปรากฎในหนังสือ สังคีติยวงศ์
ว่าการสังคายาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยใน
พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ อาราธนาพระสงฆ์หลายร้อยรูปให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎกในใบลาน
ณ วัดโพธารามใช้เวลา ๑ ปีจึงเสร็จการสังคายนา อักษรที่ใช้ในการจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงเป็นอักษรไทยลานนา
การสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทยมีขึ้นใน
พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎกซึ่งกระจัดกระจายสูญหายหลังกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลาย
การสังคายนาครั้งนี้จัดทำ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ อักษรที่ใช้จารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นเป็นอักษรขอม
ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ทรงให้คัดลอกพระไตรปิฎกอักษรขอมในใบลานออกมาเป็นตัวอักษรไทย
แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือได้ ๔๙ เล่ม นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่มหนังสือด้วยอักษรไทย
ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๗ คระสงฆ์ได้แปบพรไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และได้จัดพิมพ์เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษใน
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเล่มหนังสือได้ ๘๐ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งต่อมาได้รวมเล่มลดจำนวนเหลือ
๔๕ เล่มเท่าฉบับบาลี
ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ คณะสงฆ์และรัฐบาลไทยได้จัดงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกทั้งฉบับภาษาบาลีและภาษาไทยแล้วจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เรียกว่า
พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนักษัตร
ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชนินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนักษัตร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลีสำเร็จเรียบร้อย
เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ตรวจชำระและพิมพ์คำอธิบายพรไตรปิฎกที่เรียกว่า
อรถกถาภาษาบาลีอีกด้วย
ในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์สมโภชพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เห็นสมควรแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยายาลัย เป็นภาษาไทย
ที่พระพุทงะศาสนิกชนทั่วไปสามารถอ่านเจ้าใจอรรถธรรมได้ง่าย เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษาและเมื่อความนี้ได้ทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี แล้ว พระดงค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณรับเป็นประธานอุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(สุวรรณ สุวณฺณโชโต) เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต นายชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายคฤกัสถ์
โครงการแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปี ๒๕๓๙
|